การวิเคราะห์และออกแบบระบบการขนส่งโลหิตในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลกรณีศึกษาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

Main Article Content

สมชาย ปฐมศิริ
ประภัสสร สุขาบูรณ์

บทคัดย่อ

ในแต่ละวัน มีความต้องการใช้โลหิตจำนวนมากสำหรับการรักษาชีวิตมนุษย์ การได้รับโลหิตอย่างรวดเร็วและปลอดภัย จะช่วยให้การรักษาของแพทย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการกระจายโลหิตก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึง สำหรับในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้น โรงพยาบาลแต่ละแห่งที่ต้องการใช้โลหิตจะต้องส่งรถไปรับโลหิตเองโดยตรงที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละวันจะมีโรงพยาบาล 74 แห่งส่งรถนานาชนิดมารับโลหิตจากศูนย์ฯวันละหลายเที่ยว แต่ละเที่ยวได้รับโลหิตไประหว่าง 1 ถึง 300 ถึง ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมาก อันเนื่องมาจากเป็นการวิ่งไปแล้ววิ่งกลับทันที รถแต่ละคับบรรทุกโลหิตได้น้อยมากเมื่อเทียบกับความจุของรถงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษา วิเคราะห์ปัญหาเป็นการจัดระบบเส้นทางทางการขนส่ง ประยุกต์ใช้วิธีฮิวริสติกของ Clark and Wright ในการแก้ปัญหา ผลการทดสอบด้วยข้อมูลจริงพบว่าระบบที่เสนอสามารถช่วยให้การขนส่งโลหิตในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลลดจำนวนเที่ยวและระยะทางการขนส่งได้ มีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งให้สูงขึ้น 68.53% ซึ่งทำให้ต้นทุนการกระจายโลหิตลดต่ำลง นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะแนวทางเพื่อการลงทุนที่เหมาะสมอีกด้วย

Article Details

How to Cite
ปฐมศิริ ส. ., & สุขาบูรณ์ ป. . (2011). การวิเคราะห์และออกแบบระบบการขนส่งโลหิตในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลกรณีศึกษาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. แนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม, 2, 41–50. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242135
บท
บทความวิจัย

References

พรชนก โพธิ์บัณฑิตย์, สมชาย ปฐมศิริ, 2554. การวิเคราะห์รูปแบบและต้นทุนการกระจายโลหิต

ในประเทศไทย. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการแห่งชาติ 2010. 16 - 17 ธันวาคม 2553.

ปภัสสร สุขาบูรณ์, สมชาข ปฐมศิริ, 2554. ประเด็นปัญหาและแนวคิดในการปรับปรุงประสิทธิภาพ

การกระงายโลหิตในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณีศึกษาของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการแห่งชาติ 2010.16- 17 ธันวาคม 2553.

Rytila, J.S,, Spens, K.M., 2006. Using simulation to increase efficiency in blood supply chain.Management Research News, 29 (12): 801-819.

Sime S.L., 200S. Strengthening the service continuum between transfusion providers and

suppliers: enhancing the blood services network.Transfusion, 45 (October): 206 - 223.

Koch, O., Weigl, H., 2003. Modeling ambulance service of the Austrian Red. Proceeding of the 2003 Winter Simulation. [online] Available:http://www.informs-sim.org/ wsc03papers/217

.pdf(1 December 2011).

Katsaliaki K., 2008. Cost-effective practices in the blood service sector. Health Policy, 86: 276-287.

Bosnes V., Aldrin M., Heier H.E., 2005. Predicting blood donor arrival. Transfusion, 45 (February):162 - 170.

Nuchprayoon, C., 2010. National Blood Centre: Dream and reality, National Annual Scientific Conference on Transfusion Medicine,(March):1-9.

Laporte G., Gendreau M., Potvin J,, Semet F,,2000 Classical and modern heuristics for the vehicle routing problem. International Transactions in Operational Research, 7:285 - 300.

Clarke, G., and J. W. Wright (1964). Scheduling of vehicles from a central depot to a number of delivery points. Operations Research 4 (12):568-581.