Identifying the Optimal Factor for Design and Fabrication of A Small Municipal Solid Waste Incinerator with the Design of Experiments Technique
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยและระดับที่เหมาะสมในการเผาขยะ เพื่อการออกแบบเตาเผาขยะชุมชนขนาดเล็กด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการออกแบบการทดลองโดยมีขึ้นตอนการดำเนินงานเริ่มต้นจากการออกแบบการทดลองเป็นแบบ General Factorial ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยปริมาณจำนวนรูลมเข้าในตัวเตา มี 3 ระดับคือ 36,72 และ 144 รู ปัจจัยปริมาณขยะที่ทำการเผามี 2 ระดับคือ 5 และ 10 กิโลกรัม โดยที่มีอัตราส่วนผสมปริมาณขยะเปียกร้อยละ 40 ต่อปริมาณขยะแห้งร้อยละ 60 ต่อน้ำหนัก ทำการศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบร่วมของปัจจัยต่างๆ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ โดยกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพเตาเผาขยะดังนี้ค่าอุณหภูมิที่เผาไหม้ขยะสูงที่สุดปริมาณขี้เถ้าที่เหลือจากการเผาไหม้น้อยที่สุด ปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 1,000 ppm จากผลการทดลองได้ผลสรุป ของ 2 ปัจจัยของหลัก เตาเผาขยะที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด คือ จำนวนรูลม 144 รู และ ปริมาณขยะที่เผา 10 กิโลกรัม ได้ค่าตัวชี้วัดประสิทธิภาพ ค่าอุณหภูมิที่เผาไหม้ขยะสูงที่สุด 591.40 องศาเซลเซียส ปริมาณขี้เถาที่เหลือจากการเผาไหม้น้อยที่สุด 0.32 กิโลกรัม ดังนั้นขยะที่เผาไหม้ 9.68 กิโลกรัม คิดเป็น 96.80% ปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ 726.40 ppm อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม
Article Details
The manuscript, information, content, picture and so forth which were published on Journal of Engineering, RMUTT has been a copyright of this journal only. There is not allow anyone or any organize to duplicate all content or some document for unethical publication.
References
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข, พ.ศ. 2535.
กรมควบคุมมลพิษ, พ.ศ. 2553.
พัชรี หอวิจิตร, 2536.การจัดการขยะมูลฝอย.ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนเก่น.
เลอศักดิ์ โดสูงเนิน,2544.การควบคุมภาวะอากาศและนาจากเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชนขนาดเล็ก.
วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
นผภาพร พานิช,2550.ตำรระบบบำบัดมลพิษอากาศ.แก้ไขปรับปรุงพิมพัดรั้งที่ 2 สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
ศรีไร จารภิญโญ, 2553. เอกสารประกอบรายวิชาการออกแบบการทดลอง (DOE). ภาควิชาวิศวกรรม
อุตสาหการวิศกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วิชาญวรรณ,2545.ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเหล็กปลายสั้นสำหรับกระบวนการหล่อเหล็กแท่งแบบต่อ
เนื่องโดยวิธีการออกแบบการทดลอง. วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปารเมศ ชุติมา, 2545. การออกแบบการทดลองทางวิศวกรรม พิมพ์ครั้งที่1 สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลง
กรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.