วิเคราะห์ปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อการออกแบบสร้างเตาเผาขยะชุมชนขนาดเล็กด้วยเทคนิคการออกแบบการทดลอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยและระดับที่เหมาะสมในการเผาขยะ เพื่อการออกแบบเตาเผาขยะชุมชนขนาดเล็กด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการออกแบบการทดลองโดยมีขึ้นตอนการดำเนินงานเริ่มต้นจากการออกแบบการทดลองเป็นแบบ General Factorial ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยปริมาณจำนวนรูลมเข้าในตัวเตา มี 3 ระดับคือ 36,72 และ 144 รู ปัจจัยปริมาณขยะที่ทำการเผามี 2 ระดับคือ 5 และ 10 กิโลกรัม โดยที่มีอัตราส่วนผสมปริมาณขยะเปียกร้อยละ 40 ต่อปริมาณขยะแห้งร้อยละ 60 ต่อน้ำหนัก ทำการศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบร่วมของปัจจัยต่างๆ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ โดยกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพเตาเผาขยะดังนี้ค่าอุณหภูมิที่เผาไหม้ขยะสูงที่สุดปริมาณขี้เถ้าที่เหลือจากการเผาไหม้น้อยที่สุด ปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 1,000 ppm จากผลการทดลองได้ผลสรุป ของ 2 ปัจจัยของหลัก เตาเผาขยะที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด คือ จำนวนรูลม 144 รู และ ปริมาณขยะที่เผา 10 กิโลกรัม ได้ค่าตัวชี้วัดประสิทธิภาพ ค่าอุณหภูมิที่เผาไหม้ขยะสูงที่สุด 591.40 องศาเซลเซียส ปริมาณขี้เถาที่เหลือจากการเผาไหม้น้อยที่สุด 0.32 กิโลกรัม ดังนั้นขยะที่เผาไหม้ 9.68 กิโลกรัม คิดเป็น 96.80% ปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ 726.40 ppm อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข, พ.ศ. 2535.
กรมควบคุมมลพิษ, พ.ศ. 2553.
พัชรี หอวิจิตร, 2536.การจัดการขยะมูลฝอย.ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนเก่น.
เลอศักดิ์ โดสูงเนิน,2544.การควบคุมภาวะอากาศและนาจากเตาเผาขยะมูลฝอยชุมชนขนาดเล็ก.
วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
นผภาพร พานิช,2550.ตำรระบบบำบัดมลพิษอากาศ.แก้ไขปรับปรุงพิมพัดรั้งที่ 2 สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
ศรีไร จารภิญโญ, 2553. เอกสารประกอบรายวิชาการออกแบบการทดลอง (DOE). ภาควิชาวิศวกรรม
อุตสาหการวิศกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วิชาญวรรณ,2545.ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเหล็กปลายสั้นสำหรับกระบวนการหล่อเหล็กแท่งแบบต่อ
เนื่องโดยวิธีการออกแบบการทดลอง. วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปารเมศ ชุติมา, 2545. การออกแบบการทดลองทางวิศวกรรม พิมพ์ครั้งที่1 สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลง
กรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.