การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของภักดีฟาร์ม ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของภักดีฟาร์มด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม และ 2) ประเมินความพึงพอใจผู้ใช้แอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของภักดีฟาร์มด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เครื่องมือที่ใช้พัฒนาแอปพลิเคชัน ประกอบด้วยโปรแกรม Unity เขียนชุดคำสั่งด้วยภาษา C# ออกแบบโมเดลกวาง 3 มิติ ด้วยโปรแกรม Blender และใช้ซอฟต์แวร์ ARCore ที่พัฒนาโดย Google เป็นเครื่องมือใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักท่องเที่ยวจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิเคชัน โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบและจัดรูปแบบ และด้านประโยชน์ของแอปพลิเคชันต่อการนำไปใช้งาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมานั้นมีหลักการทำงานโดยใช้กล้องบนมือถือสแกนหาพื้นที่ว่าง จากนั้นโปรแกรมจะทำการหาพื้นที่เพื่อสร้างโมเดล 3 มิติ ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม และ 2) ความพึงพอใจ พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของภักดีฟาร์มด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้แต่งจะต้องกรอกข้อมูลเพื่อโอนลิขสิทธิ์ (copyright) ให้กับวารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์ ก่อนเผยแพร่บทความ โดยดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jait/copyrightlicense
References
กรกช ขันธบุญ และจิรวัฒน์ พิระสันต์. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนโดยใช้เทคโนโลยีภาพเสมือนจริงสำหรับการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์กําแพงเพชร. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(2), 188 – 196. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/AJNU10-2-16
กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2548). คู่มือการบริหารและจัดการการท่องเที่ยวเกษตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
เกวลี ผาใต้, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม และอภิวัฒน์ วัฒนะสุระ. (2561). สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีมิติเสมือนจริง เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษสัตว์โลกน่ารู้. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(1), 23-28. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/153088
จรัสดาว เรโนลด์, ศิริพรรณ ปิติมานะอารี และ สุมิตรา ชูแก้ว. (2563). การส่งเสริมการดูแลตนเองโดยใช้สื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง Augmented reality (AR) กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตากสิน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
ณรงค์ ไชยมงคล, เมธา อึ่งทอง และอภิชาติ ศรีประดิษฐ. (2563). เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2 มิติ : การตั้งศูนย์ชิ้นงานในงานกัดด้วยเครื่องจักรกลอัตโนมัติ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), 80-89. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/240769
ณัฐวดี หงส์บุญมี และวิทยา งามโปร่ง. (2562). แอปพลิเคชันความเป็นจริงเสมือนสำหรับเพิ่มประสบการณ์การท่องโลกนิทานพื้นบ้านเรื่องไกรทองบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 11 (น.1-8), 27-28 มีนาคม 2562, นครศรีธรรมราช.
ดวงจันทร์ สีหาราช, ยุภา คําตะพล, ฐิณาภัณฑ์ นิธิยุวิทย์ และศรัญญา ตรีทศ. (2563). แอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(1), 135–146. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/spurst/article/view/235359
ทรงสิริ วิชิรานนท์, รุ่งอรุณ พรเจริญ, สุนารี จุลพันธ์ และ ฉันทนา ปาปัดถา. (2562). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เทคโนโลยีเสมือนจริงส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนคูบัว จังหวัดราชบุรี. งานประชุมวิชาการระดับชาติด้านการท่องเที่ยวกับมนุษยศาสตร์ ครั้งที่ 1 (น.733-746), วันที่ 19-20 ธันวาคม 2562, เชียงใหม่.
ธวัชชัย สหพงษ์. (2562). พัฒนาแอปพลิเคชันความจริงเสมือน “สะดืออีสาน” อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(1), 139-151. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/spurst/article/view/192385
ธีรชัย ศรีสุวงศ์. (ม.ป.ป.). AR Technology เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอัจฉริยะ อย่างปลอดภัย. สืบค้น 10 ธันวาคม 2564. สืบค้นจาก https://www.depa.or.th/th/article-view/ar-technology
นิออน ศรีสมยง. (2552). การสำรวจทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการตัดสินใจไปท่องเที่ยวในจังหวัดภาคใต้ที่ประสบภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
พนิดา ตันศิริ. (2553). โลกเสมือนผสานโลกจริง Augmented Reality. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
รักษพล ธนานุวงศ์. (2553). สื่อเสริมการเรียนรู้ โลกเสมือนผสมโลกจริง (Augmented Reality) เรื่อง การจมและการลอย. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2543). การศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาและการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro tourism). กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
Kavafian, H. (2021). Google adds another 30 Android devices to its ARCore support list. Retrieved 10 December 2011. Retreived from https://www.androidpolice.com/2021/08/06/google-adds-30-handsets-to-its-arcore-support-list/