การศึกษาพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการเผาแหล่งฝังกลบขยะในจังหวัดสมุทรปราการ ด้วยแบบจำลอง ALOHA

Main Article Content

ชวภณ สุนทรโชติช่วง
นรีรัตน์ อัตตะพันธ์
ณัฐพล จันทร์แก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการเผาแหล่งฝังกลบขยะในจังหวัดสมุทรปราการ ด้วยแบบจำลอง ALOHA ผลการศึกษาพบว่า (1) การวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองมลพิษ ALOHA ก๊าซ คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) แพร่กระจายไปในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือจากแหล่งกำเนิด ครอบคลุมพื้นที่ 6,151.23 ไร่ เมื่อนำมาตรวจสอบความถูกต้องกับภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชต (THEOS) บริเวณพื้นที่เกิดเพลิงไหม้บ่อขยะแพรกษา และบริเวณที่ครอบคลุมด้วยควันไฟ ณ วันที่ 18 มีนาคม 2557 พบว่า มีค่าความถูกต้องโดยรวมเท่ากับ 81.98 % (2) พื้นที่ได้รับผลกระทบจากควันไฟบริเวณที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด จัดกลุ่มเป็นอาคาร และสิ่งปลูกสร้าง ในระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณที่มากกว่า 3 ppm ขึ้นไป ครอบคลุมครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ 3,612 ครัวเรือน ส่วนสถานที่สำคัญอยู่ในระดับความเข้มข้นมากกว่า 1 - 2 ppm ขึ้นไป ได้รับผลกระทบ 6 แห่ง ได้แก่ โรงเรียน 4 แห่ง และสถานีบริการน้ำมัน 2 แห่ง และพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน ในระดับความเข้มข้นที่มากกว่า 1 - 2 ppm ขึ้นไป มีเนื้อที่ครอบคลุม 93,130 ไร่

Article Details

How to Cite
สุนทรโชติช่วง ช., อัตตะพันธ์ น., & จันทร์แก้ว ณ. (2023). การศึกษาพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการเผาแหล่งฝังกลบขยะในจังหวัดสมุทรปราการ ด้วยแบบจำลอง ALOHA. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 5(1), 51–59. https://doi.org/10.14456/jait.2023.4
บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2556). สถิติจำนวนประชากรของจังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้น 2พฤศจิกายน 2557. สืบค้นจาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_m.php

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (2556). ความล้มเหลวของการบริหารจัดการขยะในกรุงเทพฯ. สืบค้น 2 กันยายน 2557. สืบค้นจาก http://www.greenpeace.org

เกศศินี อุนะพำนัก. (2557). คุณภาพอากาศบ่อขยะสมุทรปราการ. วารสารข่าวสารอากาศและเสียง, 7(1), 8-9.

ชมัยพร กันกง. (2557). การเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพการฝังกลบขยะมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาลในตำบลทุ่งทอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นจาก http://www.pnru.ac.th/offi/graduate/upload-files/uploaded/Thesis%207/S_712.pdf

ไทยพับลิก้า. (2557). กรณีบ่อขยะ“แพรกษา”สู่วาระแห่งชาติการจัดการขยะของประเทศไทย. สืบค้น 2 กันยายน 2557. สืบค้นจาก http://thaipublica.org/2014/08/praksa-1

ธนาวัฒน์ รักกมล และคณะ. (2556). การประเมินความเสี่ยงของการรั่วไหลของก๊าซแอมโมเนียจากถังกักเก็บในโรงงานอาหารทะเลแช่แข็ง. วารสารวิศวสารลาดกระบัง, 30, 67-72.

ผู้จัดการออนไลน์. (2557). ไฟไหม้บ่อขยะ ความเฮงซวยที่ต้องมีผู้รับผิดชอบ. สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/

มุจลินท์ ซ้ายเกลี้ยง. (2551). การประยุกต์ใช้ระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศเพื่อจัดทำแผนฉุกเฉินสำหรับโรงงานผลิตสีและโรงงานผลิตยากำจัดศัตรูพืชในจังหวัดปทุมธานีและนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย. (2557). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. สืบค้น 1 กันยายน 2557. สืบค้นจาก http://www.gisthai.org/about-gis/gis.html

อรประภา ภุมมะกาญจนะ. (2545). การประยุกต์ใช้แบบจำลองการแพร่กระจายของอากาศ (ISCST) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการแสดงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากแหล่งกำเนิดมลพิษ กรณีศึกษา : โรงไฟฟ้าบางปะกง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

เอกชัย สุทธิลักษณ์. (2545). การจัดทำบัญชีและใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทำนายมลพิษทางอากาศจากนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก. สืบค้น 13 ตุลาคม 2565. สืบค้นจากhttp://www.thaithesis.org/detail.php?id=1944