จุดมุ่งหมายและขอบเขต (Aim and Scope)

จุดมุ่งหมาย (Aim)

วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์ (JIT) เป็นวารสารที่ทุกบทความที่จะเผยแพร่ในวารสารจะต้องพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer-reviewed) และเป็นวารสารที่เป็นแหล่งเผยแพร่บทความที่มีนโยบายแหล่งสารสนเทศแบบเสรี (Open-access) โดยมีเงื่อนไขคือผู้แต่งและผู้อ่านไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการเผยแพร่บทความและอ่านบทความ โดยวารสารมีจุดมุ่งหมายที่จะเผยแพร่บทความวิจัย บทความปริทัศน์ และบทความวิชาการที่อยู่ในขอบเขตของวิทยาการสารสนเทศ เทคโนโลยี และหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเปิดรับทั้งบทความที่มุ่งเน้นทางด้านทฤษฎี และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 

 

วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์ ทำการเผยแพร่บทความวิจัยจำนวน 2 ฉบับต่อปี (issues/year) ในเดือนมกราคม - มิถุนายน และกรกฎาคม - ธันวาคม โดยเป็นการแผยแพร่ทางออนไลน์ หมายเลข ISSN: 2586-8136 (online) และ 2630-094X (print) ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2563 ทางวารสาร JIT ได้เผยแพร่บทความเฉพาะ ออนไลน์ เท่านั้น สำหรับการเผยแพร่บทความในวารสาร กองบรรณาธิการวารสารไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ ดังนั้น ผู้แต่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

 

ขอบเขตของงานวิจัย (Scope)

วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์พิจารณาเปิดรับบทความที่มุ่งเน้นทางด้านทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ โดยหัวข้องานวิจัยที่เปิดรับ ประกอบด้วย

  • - เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
  • - วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
  • - ภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics)
  • - สารสนเทศศาสตร์และการจัดการ (Information Science and Management)
  • - สื่อดิจิทัล (Digital Media)
  • - นิเทศศาสตร์ (Communication Arts)

 

ประเภทของบทความ (Types of Manuscripts)

วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์เปิดรับบทความ 3 ประเภทประกอบด้วย

  • - บทความวิจัย (Research Article)
  • - บทความปริทัศน์ (Review Article)
  • - บทความวิชาการ (Academic Article)

 


 

กระบวนการพิจารณาบทความ (Peer Review Process)

ผู้วิจัยและผู้พิจารณาบทความไม่สามารถทราบข้อมูลกันและกัน (Double-Blind Peer Review)

บทความที่นำมาเผยแพร่ในวารสาร JIT จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในเว็บไซต์ การประชุมวิชาการ หรือวารสารอื่นใดมาก่อน บทความที่ "คัดลอกผลงาน" จากบทความอื่นจะไม่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร JIT 

 

วารสาร JIT ใช้วิธีการพิจารณาบทความแบบ double-blind review โดยผู้แต่งจะต้องพิมพ์ชื่อและสถาบัน (Author name and affiliation) ลงในบทความที่จะจัดส่งด้วย แต่ทั้งนี้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) จะไม่สามารถมองเห็นข้อมูลของผู้แต่ง การพิจารณาบทความจะพิจารณาโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง (Accuracy) ความใหม่ (Novelty) และความสำคัญ (Importance) ของงานวิจัย

 

เมื่อได้รับผลการพิจารณาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาจากบรรณาธิการ (Editor-in-Chief) โดยผลการพิจารณาประกอบด้วย ผ่านการพิจารณา (Acceptance) ขอให้ปรับแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะ (Revision) และปฏิเสธการเผยแพร่บทความ (Rejection)

 

รายละเอียดสำหรับการส่งบทความ (Submission) สามารถตรวจสอบได้จาก "ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง" ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยในการส่งบทความกรุณาติดต่อที่อีเมล์ jit@msu.ac.th หรือ olarik.s@msu.ac.th

 


 

นโยบายแหล่งสารสนเทศแบบเสรี (Open Access Policy)

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 วารสาร JIT กำหนดให้เป็นวารสารประเทศ open-access ดังนั้น ทุกบทความสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
 
ทุกคนสามารถที่จะอ่านบทความ ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความ หรือใช้ด้วยวัตถุประสงค์อื่นที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (publisher) หรือผู้แต่ง (author)
 

ทุกบทความที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาการสารสนเทศ (JIT) สามารถเข้าถึงได้เว็บไซต์ของวารสาร JIT ผ่านระบบ ThaiJO ได้ทันทีภายใต้นโยบายของ open access

  • - ทุกคนสามารถเข้าถึงทุกบทความที่เผยแพร่โดยวารสาร JIT โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • - ทุกคนสามารถใช้เนื้อหาของบทความที่เผยแพร่ ทั้งนี้ ต้องอ้างอิง (citation) ถึงบทความต้นฉบับ

 


 

ผู้สนับสนุน