การเล่าเรื่องสัญญะของซีรีย์ "แปลรักฉันด้วยใจเธอ"

Main Article Content

อมรวิวัฒน์ แต้มพิมาย
นาฏยา พิลางาม
พิษณุรักษ์ ปิตาทะสังข์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเล่าเรื่องและสัญญะในซีรีย์แปลรักฉันด้วยใจเธอ ด้วยการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ผลการศึกษาพบว่า  (1) การเล่าเรื่องประกอบไปด้วย (1.1) โครงเรื่องของซีรีย์มีการดำเนินเรื่องราวเหตุการณ์ไว้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเริ่มเรื่อง การพัฒนาเหตุการณ์ ภาวะวิกฤต ภาวะคลี่คลายและการยุติเรื่อง  (1.2) ความขัดแย้งที่ปรากฏประกอบด้วยความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละคร ความขัดแย้งระหว่างคนกับคน และความขัดแย้งระหว่างคนในสังคม (1.3) แก่นเรื่องมุ่งเสนอเรื่องจริงของชีวิตที่ว่า “การเข้าใจและยอมรับตัวเองเป็นจุดยุติความขัดแย้ง” สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างชายกับชาย (1.4) ตัวละครพบว่ามีตัวละครหลักที่เป็นเกย์แสดงออกถึงบทบาทชายรักชายในละคร แวดล้อมไปด้วยตัวละครอื่นๆ ที่มีความหลากหลายทางเพศ  (1.5) ฉากประกอบไปด้วยฉากที่เป็นธรรมชาติ ฉากที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ถูกสร้างขึ้น ฉากที่เป็นยุคสมัย และฉากที่เป็นการดำเนินชีวิตของตัวละคร (1.6) มุมมองในการเล่าเรื่องเป็นการเล่าเรื่องแบบรู้รอบด้าน เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจตัวละครได้ทุกตัว รวมถึงเข้าใจเส้นเรื่องและเบื้องหลังพื้นเพภูมิหลังของตัวละครแต่ละตัวได้ทั้งหมด (2) สัญญะในซีรีส์ มีการสื่อสารผ่านการเล่าเรื่อง การกระทำของตัวละคร รวมไปถึงวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่ปรากฏในซีรีย์ แสดงถึงสัญลักษณ์ทางเพศ ความรู้สึกในใจ ความกล้าหาญ การขบถจากกรอบของสังคม ตลอดจนการกดทับทางเพศ


 

Article Details

How to Cite
แต้มพิมาย อ., พิลางาม น., & ปิตาทะสังข์ พ. (2021). การเล่าเรื่องสัญญะของซีรีย์ "แปลรักฉันด้วยใจเธอ". วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 3(2), 136–154. https://doi.org/10.14456/jait.2021.11
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค. ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

ณัฐ วิไลลักษณ์. (2563). แปลรักฉันด้วยใจเธอ: สัญญะสุดวาบหวิวของกระบี่ มะพร้าว ดอกชบา และงานวิวาห์นอกขนบ. สืบค้นจาก https://themomentum.co/wp-content/uploads/2020/11/y2-webcover.jpg

เบญจรงค์ ถิระผลิกะ (2559). รักแห่งสยาม: สัญญะ มายาคติ และเพศนอกกรอบในสังคมไทย. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ มหาวิทยาลัยสยาม, 15(19), 157-165.

ปุรินทร์ นาคสิงห์.(2556). การประกอบสร้างตัวตนเกย์ในภาพยนตร์ไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 39(2), 35-53.

พัฒนพล วงษ์ม่วง และมยุรี ศรีกุลวงศ์. (2559). ตัวละครเกย์ในละครโทรทัศน์ไทยยุคใหม่. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 2(2), 96-109.

วรัทพร ศรีจันทร์. (2551). การเล่าเรื่องและการดัดแปลง เดธโน้ต ฉบับหนังสือการ์ตูน แอนิเมชั่น ภาพยนตร์ และนวนิยาย. [วิทยานิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สิรภพ แก้วมาก. (2558). การสร้างตัวละครหลักและวิธีการเล่าเรื่องชายรักชายในสื่อบันเทิงไทย. [วิทยานิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

Boggs, J.M., & Petrie, D.W. (2008). The art of watching films. 7th edition. New York: McGraw-Hill.

David Rush. (2005). A student guide to play analysis. Southern Illinois University Press.