การวิเคราะห์พื้นที่เผาไหม้จากไฟป่าด้วยภาพดาวเทียม Sentinel-2 กรณีศึกษา อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ไฟป่าเป็นภัยพิบัติอย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง สามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ และจากการกระทำของมนุษย์ ทำให้คุณภาพของอากาศลดลง เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาพื้นที่เผาไหม้และความแตกต่างของพื้นที่เผาไหม้จากไฟป่า เพื่อใช้ในการประเมินการเกิดไฟป่าในพื้นที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยรวบรวมข้อมูลดาวเทียม Sentinel-2 ในปีพ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563 โดยใช้ดัชนี 3 ตัวคือ Normalized Burn Ratio (NBR), Normalized Difference Water Index (NDWI) และ Relativized Burn Ratio (RBR) ในการหาพื้นที่เผาไหม้ และทำการตรวจสอบความถูกต้องของการจำแนกจากข้อมูลการลงสำรวจภาคสนามและการสอบถามประชาชนในพื้นที่ ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า พื้นที่เผาไหม้ในปี พ.ศ. 2563 มีพื้นที่มากกว่าปี พ.ศ. 2562 ทั้งในระดับอำเภอ ตำบล พื้นที่ป่าสงวนและนอกพื้นที่ป่าสงวน โดยในระดับอำเภอ มีพื้นที่ถูกเผาไหม้ คือ 6,315.03 ไร่ และ 10,253.15 ไร่ตามลำดับ ในระดับตำบลพบว่าตำบลเมืองแปง มีพื้นที่เผาไหม้มากที่สุด และตำบลเวียงใต้ มีพื้นที่เผาไหม้น้อยที่สุด ในพื้นที่ป่าสงวน มีพื้นที่ถูกเผาไหม้ คือ 4,177.72 ไร่ และ 5,810.11 ไร่ และพื้นที่นอกป่าสงวน มีพื้นที่ถูกเผาไหม้ คือ 2,071.55 ไร่ และ 4,179.42 ไร่ตามลำดับ การตรวจสอบความถูกต้องพบว่า ในปี พ.ศ. 2562 มีค่าความถูกต้องโดยรวมเท่ากับร้อยละ 86.42 ส่วนในปี พ.ศ. 2563 เท่ากับร้อยละ 87.86
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้แต่งจะต้องกรอกข้อมูลเพื่อโอนลิขสิทธิ์ (copyright) ให้กับวารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์ ก่อนเผยแพร่บทความ โดยดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jait/copyrightlicense
References
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2560). ส่วนควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้น 26 พฤษภาคม 2560, สืบค้นจาก http://www.dnp.go.th/forestfire
กาญจน์เขจร ชูชีพ. (2018). การประเมินความถูกต้อง (Accuracy Assessment). Remote Sensing Technical Note No. 3. Faculty of Forestry, Kasetsart University.
จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2561). อำเภอปาย. สืบค้น 22 มิถุนายน 2563, สืบค้นจาก http://www.maehongson.go.th/th/province-info/administrative-region/pai.html
ณัฐพร ปานเหลือ. (2558). ปาย จ.แม่ฮ่องสอน. สืบค้น 22 มิถุนายน 2563, สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/paymaehongsorn/
พิจิตรา พะยิ้ม. (2562). การเปรียบเทียบการกระจายตัวของจุดความร้อนที่ตรวจวัดได้ระหว่าง MODIS C6 กับ VIIRS ในพื้นที่อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. [ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร].
วิภารัตน์ อัมพะวัน. (2561). การศึกษาเทคนิคการประมาณสภาพกายภาพต้นยางพารา จากข้อมูล อากาศยานไร้คนขับ. [ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร].
ศศิธร ฉัตรสุดารัตน์. (2560). การศึกษาและวิเคราะห์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ปลูกอ้อย โดยเทคนิคการจำแนกเชิงวัตถุจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat : กรณีศึกษา อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. [ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร].
สุภาสพงษ์ รู้ทํานอง. (2560). การสกัดและประเมินพื้นที่ถูกเผาไหม้โดยใช้ค่าความแตกต่างของดัชนีเชิงคลื่นหลายช่วงเวลา จากข้อมูลแลนด์แซท 8 : กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า คลองลานและแม่วงก์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทสม.), 25(2). 49-65.
หทัยทิพย์ เงินอิน. (2561). การหาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของสวนสักด้วยอากาศยานไร้คนขับในพื้นที่ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. [ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร].
อมร เพ็ชรสว่าง. (2015). แผนที่ความชื้นจากข้อมูลดาวเทียม. สืบค้น 22 มิถุนายน 2563, สืบค้นจาก https://www.gistda.or.th/main/th/node/802
อุไรรัตน์ อุ่นเมือง. (2562). การพัฒนาอัลกอริทึ่มเพื่อการตรวจนับจำนวนไม้ผลแบบอัตโนมัติ ด้วยข้อมูลภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ. [ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร].
ESA. (2018). SNAP. Retrieved 11 November 2020, Retrieved from https://step.esa.int/main/toolboxes/snap/
HUMBOLDT STATE GEOSPATIAL ONLINE. (2014). Normalized Burn Ratio. Retrieved 11 November 2020, Retrieved from http://gsp.humboldt.edu/OLM/Courses/GSP_216_Online/lesson5-1/NBR.html