การพัฒนาเตาอบไม้สักและการวิเคราะห์ความ เหมาะสมของสภาพการอบแห้งผ่านแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
คำสำคัญ:
ไม้สัก, เตาอบ, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, สมการถดถอยแบบไม่เชิงเส้นบทคัดย่อ
การพัฒนาเตาอบไม้สักและการวิเคราะห์ความเหมาะสมของสภาพการอบแห้งผ่านแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาเตาอบไม้สักที่สามารถลดปัญหาด้านคุณภาพของการอบไม้สัก ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้ดำเนินการออกแบบและสร้างเตาไม้สักแบบผสมผสาน โดยมีระบบการทำงานที่สำคัญ 3 ส่วนคือ 1) โครงสร้างของเตาอบไม้สัก ออกแบบเพื่อให้สามารถรับแสงได้ตลอดทั้งวันโดยมีลักษณะเป็นอุโมงค์ มีพัดลมดูดอากาศทำงานเพื่อลดอุณหภูมิในห้องอบลง 2) การให้พลังงานความร้อนจากฮอตแอร์ จะให้พลังงานความร้อนมายังเตาอบ เมื่อเตาอบไม่ได้รับพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์หรือมีอุณหภูมิไม่ได้ตามที่กำหนด และ 3) ในการควบคุมระบบเตาอบไม้สัก ภายในเตาอบไม้สักจะควบคุมอุณหภูมิและความชื้น เพื่อใช้ในการตัดต่อระบบการให้ความร้อนของทั้ง 2 ระบบ จากการการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบไม่เชิงเส้น โดยใช้ค่าค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) ค่าการลดลงไคกำลังสอง (X2) และค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) ต่ำที่สุด พบว่าแบบจำลองการประมาณการแพร่มีความเหมาะสมที่สามารถใช้ทำนายอัตราส่วนความชื้นของไม้สักระหว่างการอบแห้งได้ดีที่สุดสำหรับการอบแห้งด้วยเตาอบแห้งพลังงานความร้อนร่วม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ R2 เท่ากับ 0.9853 ค่าการลดลงไคกำลังสอง และค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย เท่ากับ 0.0001 และ 0.0112 มีค่าต่ำที่สุด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีการ ผลิตและการจัดการหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็น ลายลักษณ์อักษรจากวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการก่อนเท่านั้น