การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่

ผู้แต่ง

  • ประจักร จัตกุล
  • ธีรวุฒิ เขื่อนแก้ว
  • จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร
  • ฐิติ หมอรักษา -

คำสำคัญ:

วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร, ผลิตภัณฑ์ใหม่, มูลค่า, ลำไย

บทคัดย่อ

งานวิจัยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการแก้ปัญหา หาวิธีกำจัด และจัดการวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งจะสามารถทำให้ลดจำนวนวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร อันทำให้สามารถลดภาวะทางอากาศลงได้ วิธีการที่นำมาใช้ในงานวิจัย และสามารถทำขยะให้มีมูลค่าเพิ่มในเชิงพาณิชย์ คือ การนำวิธีการทางวิศวกรรมมาทำให้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเกิดมูลค่าเพิ่มเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยใช้ทรัพยากรให้เป็นไปอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีขั้นตอน คือ เตรียมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร คือ กิ่งลำไย และใบลำไยเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตมาย่อยให้เหลือขนาด 3 mm ด้วยเครื่องสับย่อยจากนั้นชั่งน้ำหนักวัตถุดิบที่ผ่านการสับย่อยตามสูตรที่กำหนด และน้ำหนักกาวไอโซไซยาเนต 10% ของน้ำหนักวัตถุดิบ นำเข้าเครื่องผสมพร้อมกับผสมกาวโดยการฉีดกาวเข้าไปยังเครื่อง เมื่อเสร็จเรียบร้อยนำวัตถุดิบที่ผสมกาวแล้วมาชั่ง แล้วใส่ในแม่พิมพ์ขนาด 400×600 mm หลังจากนำวัตถุดิบใส่จนเสร็จแล้วทำการอัดขึ้นรูปด้วยแรงดันไฮดรอลิกส์ 30 MPa อุณหภูมิประมาณ 160 °C เป็นเวลา 10 min หลังจากนั้นนำออกจากเครื่องอัดร้อน จะได้แผ่นปาร์ติเกิลบอร์ดตามสูตรที่ผสม ผลการศึกษาพบว่ามีค่าความหนาแน่นเฉลี่ย 788.53 kg/m3 มีค่าปริมาณความชื้นเฉลี่ย 8.82 % มีค่าการพองตัวเฉลี่ย 5.58 % มีค่าความต้านทานแรงดัดเฉลี่ย 11.12 MPa มีค่ามอดูลัสยืดหยุ่น และค่าความต้านแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้าเฉลี่ย 1,763.9 MPa และ 0.42 MPa ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 876–2547 พบว่าคุณสมบัติทางกายภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานส่วนคุณสมบัติทางกลบางอย่างยังต่ำกว่าเกณฑ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30.06.2024

ฉบับ

บท

เปิดรับบทความตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ