Influence of Workpiece Alignment on the Dimension Accuracy Freeform Curved Surface Geometry Achieved through Robotic Milling Process
Keywords:
Robot milling, Foam material, Freeform curved surfaces, Coordinate Measuring Machine (CMM)Abstract
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของทิศทางการจัดวางชิ้นงานที่มีต่อค่าความคลาดเคลื่อนทางเรขาคณิตและมิติของรูปทรงผิวโค้งอิสระชิ้นงานที่เกิดจากการกัดด้วยแขนหุ่นยนต์บนวัสดุโฟม EPS เกรด 2.0 การทดลองใช้มอเตอร์ปรับความเร็วรอบได้และดอกกัดเอ็นมิลแบบ 4 ฟัน ชนิดหัวบอล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ติดตั้งที่ส่วนปลายแขนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบ 6 แกน ยี่ห้อ ABB รุ่น IRB 6640 มีระยะเอื้อมปลายแขนไกลสุด 2.55 เมตร ออกแบบการวางชิ้นงาน 2 ทิศทาง ประกอบด้วยการวางขนานกับแนวแกน X และวางขนานแนวแกน Y อ้างอิงจากโคออร์ดิเนตฐานของหุ่นยนต์ ซึ่งทิศทางการวางชิ้นงานมีผลต่อการเคลื่อนที่ของปลายแขนหุ่นยนต์ เนื่องจากตำแหน่งเกิดจากวิถีการเคลื่อนที่ในปริภูมิสามมิติที่เกี่ยวข้องทั้งตำแหน่งและการหมุนของแกน เส้นทางการเดินคมตัดแขนหุ่นยนต์ถูกสร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการผลิต ประกอบด้วยการกัดสวนทางและกัดตามเพื่อสร้างพื้นผิวโค้งอิสระตามแบบงานบนชิ้นงานทดสอบ การตรวจสอบขนาดของรูปทรงผิวโค้งอิสระที่เกิดจากการกัดด้วยแขนหุ่นยนต์ใช้เครื่องมือวัด 3 มิติแบบสัมผัสด้วยหัวบอลขนาด 5 มิลลิเมตร ผลการวัดพบว่าการวางชิ้นงานทั้งสองทิศทางมีขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย โดยการวางขนานกับแนวแกน X มีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 2.664 มิลลิเมตร และ ทิศทางขนานกับแนวแกน Y มีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 2.148 มิลลิเมตร ผลการทดสอบทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ มีค่า p-value > 0.05 บ่งชี้ว่าทิศทางการวางชิ้นงานไม่มีผลต่อระดับค่าความคลาดเคลื่อนของชิ้นงานรูปทรงผิวโค้งอิสระที่เกิดจากการกัดด้วยแขนหุ่นยนต์
Downloads
Published
Issue
Section
License
Copyright Notice articles, information, images, etc. was published in this Journal of Manufacturing and Management Technology is a copyright of the Journal of Manufacturing and Management Technology. If any person or deparment wants to bring all or part of it for publish or take any action. Authorization is required in written form from the Journal of Manufacturing and Management Technology only.