การออกแบบระบบถังใส่ขยะอันตรายเพื่อกำจัดแบคทีเรียด้วยรังสียูวีซี
คำสำคัญ:
ขยะติดเชื้อ, แบคทีเรีย, รังสียูวีซีบทคัดย่อ
จากสถานการณ์การระบาดของโคโรนาไวรัสในปัจจุบัน ทำให้เกิดการปรับตัวของผู้คนในวิถีใหม่ โดยสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือขยะติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตแบบใหม่อย่างเช่นหน้ากากอนามัย กระดาษชำระหรือทิชชูเปียก รวมถึงของใช้ที่ต้องสัมผัสกับสารคัดหลั่งอย่างชุดตรวจ ATK หลอดดูดน้ำ เป็นต้นซึ่งจากข้อมูลกรมอนามัยพบว่าในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาได้มีการทำลายขยะติดเชื้อมากกว่าสิบล้านครั้ง สาเหตุเพราะไม่สามารถกำจัดแบบทั่วไปได้ อีกทั้งไม่สามารถเก็บไว้นานเนื่องจากแบคทีเรียที่จะก่อตัวขึ้นจากสารคัดหลั่งได้ตลอดเวลา โดยจะพบแบคทีเรียแกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลบ ซึ่งแบคทีเรียดังกล่าวสามารถกำจัดได้ในรังสียูวีซี โดยในงานวิจัยนี้ได้ออกแบบถังเก็บขยะอันตรายที่มีโอกาสติดเชื้อ และกำจัดหรือลดปริมาณเชื้อลงด้วยรังสียูวีซีแบบอัตโนมัติเมื่อทิ้งขยะลงในถังและระบบรังสียูวีซีทำงานเป็นเวลา 10, 15 และ 20 นาที ผลการทดลองที่ได้พบว่าที่ระยะเวลามากขึ้นปริมาณของแบคทีเรียลดลง โดยที่เวลาการทำงานของรังสียูวีซี 20 นาที ทำให้แบคทีเรียลดลงได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยของขยะอันตรายก่อนส่งไปกำจัดได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีการ ผลิตและการจัดการหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็น ลายลักษณ์อักษรจากวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการก่อนเท่านั้น