การวิเคราะห์ทางเรขาคณิตขนาดความยาวของชิ้นงาน

Main Article Content

บำรุง กุลวงศ์

Abstract

วิศวกรการผลิตทุกท่านยอมรับว่าขนาดความคลาดเคลื่อน มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการผลิตมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องใช้ความละเอียดมากมักจะมีความยุ่งยากในการผลิตและต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ที่เป็นเช่นนี้เพราะจะต้องใช้คนงานที่มีความชำนาญมาก ใช้เครื่องจักรที่มีราคาแพง และที่สำคัญที่สุดคือ  อาจมีชิ้นงานเสียที่ต้องทิ้งมากเกินไป ในกรณีที่ผลิตไม่ได้ขนาดตามต้องการ เพราะฉะนั้นการกำหนดความคลาดเคลื่อน สำหรับมิติใด  ๆ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของความต้องการในการใช้งาน ความเหมาะสมของผิวอ้างอิง ตลอดไปจนถึงขอบข่ายความสามารถในการผลิตของเครื่องจักร และในขณะเดียวกันอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขต้นแบบใหม่เพื่อทำให้ผลิตได้ง่ายขึ้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้นับว่ามีประโยชน์ในแง่ของการลดต้นทุนการผลิต  ทำให้ผลิตได้รวดเร็วขึ้น และลดประมาณการตรวจสอบให้เหลือน้อยลง เพราะมีส่วนที่จะต้องตรวจอย่างเข็มงวดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในประเทศไทยสามารถนำหลักการนี้ไปใช้ในขั้นตอนการวางแผนการผลิต  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการผลิตเป็นจำนวนมาก

Article Details

How to Cite
กุลวงศ์ บ. (2013). การวิเคราะห์ทางเรขาคณิตขนาดความยาวของชิ้นงาน. Engineering and Applied Science Research, 9(3), 31–43. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/easr/article/view/8339
Section
ORIGINAL RESEARCH