การศึกษารูปแบบ ขนาดและวิธีการสร้างเตาเผาเซรามิคส์ไทยในสมัยโบราณ

Main Article Content

อภิชัย เทิดเทียนวงษ์
สุภาภรณ์ มานะรังสรรค์

Abstract

การศึกษารูปแบบ และขนาดของเตาเผาเซรามิคส์ไทยโบราณเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อใช้เป็นข้อมูลและนำมาพัฒนาการผลิตภัณฑ์เซรามิคส์ในสมัยปัจจุบัน แต่เนื่องจากเตาเผาเซรามิคส์ไทยโบราณ มักจะถูกขุดค้นทำลายเพื่อนำผลิตภัณฑ์เซรามิคส์ไปขาย ทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบและขนาดของเตาเผาไม่สามารถหาได้แน่ชัด แต่พอสรุปได้คร่าว ๆ ดังนี้

-           การออกแบบขนาดของห้องเผาไหม้ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเนื่องจากขนาดห้องเผาไหม้ที่ไม่เหมาะสม กับขนาดของเตา เช่น มีขนาดเล็กเกินไปจะทำให้การเพิ่มอุณหภูมิภายในเตาทำได้ยาก แต่ถ้ามีขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้เกิดการสูญเสียเชื้อเพลิงส่วนหนึ่งไปโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้การที่ปากเตา (ปากทางเข้าของห้องเผาไหม้) มีความกว้างมากเกินไปลมเย็นภายนอกอาจเข้าไปได้สะดวกทำให้อุณหภูมิภายในเตาขึ้นสูงได้ยาก เพราะลมเย็นจะพัดพาเอาความร้อนผ่านทางเพดานเตาและออกไปทางปล่องไฟ   ดังนั้น ชาวบ้านจึงต้องโหมใส่พื้นมากเพื่อเติมอุณหภูมิ จากข้อมูลที่ได้ทำการศึกษาสามารถเปรียบเทียบ ขนาดสัดส่วนที่เหมาะสมของการสร้างเตาเผาตามวิธีการออกแบบเตาเผาดังกล่าวข้างต้น กับการสร้างเตาเผาเซรามิคส์ไทยในสมัยโบราณได้อัตราส่วนระหว่างพื้นที่ห้องเผาไหม้กับพื้นห้องเผาผลิตภัณฑ์ควรมีค่าประมาณ 1 : 3

-          การออกแบบปล่องไฟ ซึ่งทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับเป็นตัวดูดความร้อนและปล่อยออกนั้นต้องพิจารณาว่าการที่ปล่องไฟยิ่งมีขนาดสูง การระบายความร้อนก็จะเป็นไปด้วยดี แต่ความสูงของปล่องควรถูกสร้างให้มีความเหมาะสมกับขนาดของเตา และความพอเหมาะกับเชื้อเพลิง ซึ่งถ้าความสูงของปล่องไฟมีขนาดเพียงพอแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทำให้สูงมากกว่านี้ แต่การที่ปล่องไฟมีขนาดกว้างและเตี้ยจำทำให้แรงดูดไม่แรงพอที่จะทำให้เกิดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเป็นไปด้วยดี จากข้อมูลที่ได้ทำการศึกษาพบว่า  ค่าอัตราส่วนของความสูงของปล่องไฟต่อความยาวของตัวเตามีค่าอยู่ในช่วง 1 :  2 -1 : 4 อัตราส่วนระหว่างเส้นผ่าศูนย์กลางของปล่องไฟต่อส่วนที่กว้างที่สุดของตัวเตามีค่าเท่ากับ 1: 2.2 โดยประมาณ

-          นอกจากนี้ พบว่าพื้นที่หน้าตัดของช่องทางออกของ flue ges มีขนาดเล็กกว่าพื้นที่หน้าตัดของห้องเผาไหม้ แต่ค่าอัตราส่วนระหว่างพื้นที่หน้าตัดทั้งสองยังไม่ทราบค่าแน่นอน และในการสร้างเตาเผามักจะสร้างให้มุมเอียงของพื้นเตามีค่าประมาณ 30 องศา

Article Details

How to Cite
เทิดเทียนวงษ์ อ., & มานะรังสรรค์ ส. (2013). การศึกษารูปแบบ ขนาดและวิธีการสร้างเตาเผาเซรามิคส์ไทยในสมัยโบราณ. Engineering and Applied Science Research, 14(1), 59–65. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/easr/article/view/8190
Section
ORIGINAL RESEARCH