การหาปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำในมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยเฉลี่ยต่อปี
Main Article Content
Abstract
บทความนี้เป็นบทความที่สรุปรายงานการวิจัย เรื่องปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำในมหาวิทยาลัยของแก่นโดยเฉลี่ยต่อปี ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่ ว.ศ.15/2528 จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการพิจารณาปรับปรุงอ่างเก็บน้ำดิบบริเวณพื้นที่ด้านมอดินแดง (บริเวณสะพานขาว) จากการสำรวจพบว่าพื้นที่รับน้ำฝนที่จะไหลลงอ่างดังกล่าวมีเนื้อที่ถึง 1,015,625 ตารางเมตรหรือประมาณ 635 ไร่ และจากสถิติปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ที่ทำการสำรวจ ซึ่งทำการวัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี (2523-2527) เมื่อนำมาเฉลี่ยและคำนวณหาน้ำฝนที่ไหลบนผิวดินโดยวิธี S.C.S ของ Richard H. Mc Guen จะได้ปริมาณน้ำฝนที่ไหลบนผิวดิน หรือปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงอ่างโดยเฉลี่ยถึงปีละ 1,205,547 ลูกบาศก์เมตร แต่พื้นที่รับน้ำฝนส่วนหนึ่งเป็นอาคาร บ้านพัก และโรงเรือนต่าง ๆ และ อีกส่วนหนึ่งเป็นหลุมบ่อ ซึ่งประมาณได้ว่าน้ำฝนอาจถูกรองเก็บไว้ตามอาคารบ้านพัก และขังอยู่ตามหลุมบ่อ 10 และ 20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้นจึงเหลือปริมาณน้ำฝนที่ควรจะไหลลงอ่างจริงปีละประมาณ 867,993 ลุกบาศก์เมตร และหากยอมให้ระเหยไป 25% ก็จะยังคงเหลือ 650,993 ลูกบาศก์เมตร หากการใช้น้ำของมหาวิทยาลัยอยู่ในอัตรา 4,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวันก็สามารถใช้ได้นานถึง 144 วันหรือประมาณ 4.8 เดือน จะเห็นว่าจากตัวเลขที่ได้จากการวิจัยนี้ ปริมาณน้ำฝนที่สามารถเก็บกักได้มีปริมาณสูงมาก มหาวิทยาลัยน่าจะหาทางเก็บกักน้ำจำนวนดังกล่าวไว้ใช้ผลิตน้ำประปาเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำดิบจากหนองโกทาซึ่งอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยถึง 10 กิโลเมตรและอยู่ต่ำกว่ามหาวิทยาลัยมากและยังอาจขาดแคลนน้ำดิบในช่วงที่กรมชลประทานปิดคลองส่งน้ำ เพื่อทำการซ่อมคลองอีกด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.