เครื่องปั่นนุ่นสำหรับเกษตรกรในชนบท

Main Article Content

สุภัทรา ปลื้มกมล

Abstract

ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตสินค้าปุยนุ่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีคุณภาพในเกรดดีเลิศจึงเป็นการสมควรที่รัฐบาลควรจะพยายามรักษาตลาดนุ่นต่างประเทศที่มีอยู่เดิมไว้ และขยายตลาดใหม่ ๆ ต่อไป ขณะเดียวกันควรส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ (อุตสาหกรรมผลิตตุ๊กตาผ้า , ทำที่นอน) ให้หันมาใช้ปุยนุ่นเป็นวัตถุดิบมากยิ่งขึ้นและส่งเสริมการเพาะปลูกนุ่นในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และรณรงค์ให้เกษตรกรนำเครื่องปั่นนุ่นที่ใช้เครื่องจักรขนาดเล็กมาใช้เอง โดยทำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือในหมู่บ้านด้วยการตัดแปลงเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น มาสร้างตามรูปแบบที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นโดยเฉพาะเครื่องปั่นนุ่น มข.24 ที่ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนาขึ้นมา (เป็นกรณีศึกษา) ซึ่งมีสมรรถนะและประสิทธิภาพการปั่นนุ่นอยู่ในข่ายที่เหมาะสมกับสภาพอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ไม่ต้องใช้แรงงานมาก รวมทั้งเครื่องต้นกำลังไม่ต้องสิ้นเปลืองกำลังงานสูงใช้มอเตอร์ขนาด ¼ แรงม้าก็เพียงพอและมีราคาค่อนข้างประหยัด ราคาต้นทุนการผลิตเครื่องประมาณเครื่องละ 3-4 พันบาทเท่านั้น ผลดีต่อเกษตรกรทางอ้อมคือ  มีการขยายระดับเทคโนโลยีของเครื่องจักรกลการเกษตรออกสู่ท้องถิ่นในชนบท เป็นการพัฒนาชุมชนโดยทางอ้อม ช่วยพัฒนาเทคนิคและกระบวนการผลิตปุยนุ่นให้มีประสิทธิภาพผละผลผลิตที่ดีมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลให้เกษตรกรจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดราคาสินค้าปุยนุ่นนี้เอง  เมื่อผลผลิตปุยนุ่นโดยรวมของประเทศเพิ่มมากขึ้น ย่อมช่วยให้ราคาปุยนุ่นไม่สูงจนเกินไป ทำให้ประเทศผู้ซื้อทั้งหลายไม่  ต้องหันไปหาวัตถุดิบทดแทนอย่างอื่น ขณะที่ผลผลิตมีสม่ำเสมอ และราคาไม่แพงก็ย่อมจะสามารถแข่งขันกับผู้ส่งออกรายอื่น (เช่น ประเทศอินโดนีเซีย แทนซาเนีย ที่กำลังตื่นตัวดำเนินนโยบายการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกนุ่นเพื่อส่งปุยนุ่นออกมากขึ้น) อันจะมีผลทำให้สินค้าออกชนิดนี้ของไทยยังคงความสำคัญของตลาดต่อไปเรื่อย ๆ เป็นการช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ เนื่องจากนุ่นเป็ฯพื้ชเศรษฐกิจที่สามารถทำรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรได้อย่างดีที่ไม่ควรมองข้ามไป ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาความยากจนในชนบทให้ลดลงไปได้ทางหนึ่ง

Article Details

How to Cite
ปลื้มกมล ส. (2013). เครื่องปั่นนุ่นสำหรับเกษตรกรในชนบท. Engineering and Applied Science Research, 19(1), 1–9. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/easr/article/view/8146
Section
ORIGINAL RESEARCH