สมการดิฟเฟอเรนเชียลกับการคำนวณ GPA

Main Article Content

ดร.สุรพงษ์ จิระรัตนานนท์

Abstract

ในการวัดผลการศึกษาในระบบหน่วยกิต คำศัพท์ที่ใช้กันบ่อยที่สุดสามคำคือ เครดิต (Credit)  จำนวนหน่วยกิต, GP (Cumulative grade point) ผลรวมของผลคูณระหว่างเครดิตต่อวิชาและค่าคะแนนที่ได้แต่ละวิชา, GPA (Comulative grade point average) ค่าคณะเฉลี่ยที่ได้แต่ละวิชาซึ่งสัมพันธ์ต่อไปนี้

เท่าที่ผ่านมาปรากฏว่ามีปัญหาในรูปต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการคำนวณค่า GPA ในระหว่างอาจารย์ , นักศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการศึกษา จุดประสงค์ของบทความนี้ก็เพื่อแสดงแนวทางหนึ่งแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการวางระเบียบกับค่า GPA ที่เหมาะสมในกรณีสำหรับสถาพลองเรียน (on probation) และสำหรับช่วยนักศึกษาในการคำนวณค่าคะแนนเฉลี่ยของวิชาใหม่ (Marginal grade point average) ที่นักศึกษาจะต้องสอบได้โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพลองเรียน วิธีการที่ใช้ในที่นี้คือการเขียนสมการดิฟเฟอเรนเชียลของ GPA สำหรับค่าคะแนนเฉลี่ยที่จะต้องสอบได้ในรูปต่าง ๆ และหาคำตอบของสมการดิฟเฟอเรนเชียลเป็นฟังชัน (Function) ของ x, จำนวนเครดิตสะสม

Article Details

How to Cite
จิระรัตนานนท์ ด. (2013). สมการดิฟเฟอเรนเชียลกับการคำนวณ GPA. Engineering and Applied Science Research, 1(1), 75–81. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/easr/article/view/8100
Section
ORIGINAL RESEARCH