การพัฒนาเครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์

ผู้แต่ง

  • เฉลิมศักดิ์ มีไพบูลย์สกุล สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคกระบี่
  • สิทธิพร บุญหวาน สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคกระบี่
  • ปิยะนันท์ รักการ สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคตรัง
  • สืบศักดิ์ หลงขาว สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคตรัง

คำสำคัญ:

เครื่องเติมน้ำมัน, น้ำมันเกียร์, น้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์สำหรับใช้ในศูนย์บริการยานยนต์ 2) ศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของช่างในศูนย์บริการที่มีต่อการใช้งานเครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาความพึงพอใจเป็นช่างบริการยานยนต์ในพื้นที่จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างทำการเลือกแบบเจาะจงจากช่างบริการยานยนต์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเธียรศักดิ์ ออโต้เซอร์วิส ซึ่งนำเครื่องนี้ไปใช้ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลการทดสอบการใช้งานของเครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น และแบบสอบถามความพึงพอใจของช่างในศูนย์บริการที่มีต่อการใช้เครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ด้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องเติมน้ำมันเกียร์และเฟืองท้ายรถยนต์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ถังใส่น้ำมันใหม่ คอมเพรสเซอร์ผลิตลม ถังเก็บลม เกจวัดแรงดันลม ถังเก็บน้ำมันเก่า กรวยรับน้ำมันเก่า 2) การทดสอบประสิทธิภาพโดยการเติมน้ำมัน 3 ชนิด พบว่า การเติมน้ำมันด้วยเครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายรถยนต์ ที่พัฒนาขึ้นใช้เวลาที่น้อยว่าการใช้ถังเติมน้ำมันด้วยมือโยก ค่าเฉลี่ย 102.8 วินาที หรือประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.23 และ 3) ความพึงพอใจจากใช้เครื่องเติมน้ำมันเกียร์และเฟืองท้ายรถยนต์ของช่างในศูนย์บริการรถยนต์ที่ศูนย์บริการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กฤษณพงศ์ หอมรูป และคณะ. (2565). การพัฒนาเครื่องเติมน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้าย. การประชุมวิชาการและนวัตกรรมเทคโนโลยีอาชีวศึกษาระดับชาติ ภายใต้หัวข้องานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมอาชีวศึกษา และพัฒนาอาชีพ ระหว่างวันที่ 18-20 เมษายน 2565 ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน จังหวัดภูเก็ต (หน้า 629-638). ภูเก็ต: สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พิทักษ์พงษ์ สังข์ยก และเจต ถาวร. (2563). ถังเติมน้ำมันเกียร์เฟืองท้ายระบบลม. การประชุมวิชาการด้านอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “การวิจัยพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา เพิ่มมูลค่าและลดต้นทุน สำหรับผู้ประกอบการ” ระหว่างวันที่ 27-28 มีนาคม 2563 ณ วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก. พิษณุโลก: สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3.

ฒนิจ ด้วงอ่ำ, นาเรต พิมพ์จันทร์, อ้อมใจ ทองยศ, ยงยุทธ พรมบุตร และศุภกร สิญจวัตร์. (2565). [ออนไลน์]. การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องเติมน้ำมันเกียร์ CVT แบบรีโมทคอนโทรล. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3, 6(11), 154-166.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2024