เครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ

ผู้แต่ง

  • ศิริพงษ์ สอนมี แผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • สมหมาย เยาว์แสง แผนกช่างเชื่อมโลหะ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • อรรถพล ไชยพงศ์ แผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • ธีรวัฒน์ ทองสง แผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • สุวิทย์ ธานีรัตน์ แผนกช่างเทคนิคอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคชุมพร

คำสำคัญ:

บรรจุภัณฑ์อาหาร, กาบหมาก, กึ่งอัตโนมัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ 2) หาประสิทธิภาพของเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ ดำเนินการพัฒนาโดยการปรับชุดแม่พิมพ์ ระบบควบคุมการทำงาน และระบบชุดป้อนกาบหมาก ทดลองหาประสิทธิภาพของเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจานกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติที่วิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ต.ท่าอุแท อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ ประกอบด้วยการพัฒนาชุดแม่พิมพ์กาบหมากแบบถ้วยให้มีความลึกและความโค้งมนมากกว่าเดิม เพิ่มชุดควบคุมการทำงานของฮีตเตอร์เป็น 2 ชุด ที่แยกการทำงานแบบอิสระระหว่างแม่พิมพ์แบบจานเหลี่ยมกับแบบถ้วย และปรับปรุงชุดป้อนกาบหมาก โดยการเพิ่มแรงกดอัดหมากหมากและชุดปรับความเร็วรอบ ใช้ระบบไฮดรอลิกเป็นต้นกำลังที่มีหัวอัดและชุดควบคุมชุดเดียวแต่สามารถทำงานได้กับแม่พิมพ์ 2 แบบ คือ แบบจานเหลี่ยมขนาด 7×6 นิ้ว ลึก 1 นิ้ว และแบบถ้วยความกว้างปากถ้วยมีขนาด 6 นิ้ว ลึก 2 นิ้ว ก้นถ้วยกว้าง 3 นิ้ว 2) ผลการหาประสิทธิภาพของเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติมีกำลังการผลิต 60 ชิ้นต่อชั่วโมงและอัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน 12 บาทต่อชั่วโมง และ 3) ความพึงพอใจที่มีต่อเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติอยู่ในระดับมากที่สุด

References

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์. (2664). [ออนไลน์]. วิกฤตขยะพลาสติก. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2567]. จาก https://www.nsm.or.th/nsm/th/node/5021.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2662). [ออนไลน์]. เนื้อที่ปลูกหมากที่สำคัญรายจังหวัด ปีเพาะปลูก 2561. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2567]. จาก http://www.agriinfo.doae.go.th/year62/plant/rortor/perennial/mak.pdf.

สมเกียรติ สุทธิยาพิวัฒน์. (2561). การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มที่นำสู่ความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก. สงขลา: มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

นพดล ชูสิทธิ์ และวิวัฒน์ รอดเกิด. (2559). การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องย่างอาหารแบบจับหลักกึ่งอัตโนมัติ. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 1(2), 44-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2024