การพัฒนาแบบฝึกทักษะการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • ณัฐวรรณ ภักดีชน แผนกวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช
  • รัชนีวรรณ ศรีทองเพิง แผนกวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช
  • สาวิตรี ศรีประศาสตร์ แผนกวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

แบบฝึกทักษะ, การจัดการเรียนรู้, ห้องเรียนกลับด้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 4 แผนกวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ที่ได้จากการสุ่มแบบยกกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ t-test for Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะที่พัฒนาประกอบด้วย แบบฝึกทักษะ จำนวน 2 ชุด และแผนการจัดการเรียนรู้ 2) ความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนหลังจากทำการศึกษาด้วยแบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ผู้เรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น และมีค่าสถิติ t-test for Dependent ที่ระดับค่านัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .05 พบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

References

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553, กรกฎาคม 22). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก. 1-3.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สมบูรณ์ สุริยวงศ์, สมจิตรา เรืองศรี, และเพ็ญศรี เศรษฐวงศ์. (2544). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

กัญญาภัค ธรรมสุข. (2563). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน สำหรับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.

ฐิฌาภรณ์ ไฝ่ทอง, กอบสุข คงมนัส, และกอบสุข คงมนัส. (2565). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านด้วยโครงงานเป็นฐานร่วมกับ แอปพลิเคชัน Every Cicuit เพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า ของนักเรียนสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กรวรรณ สืบสม, และนพรัตน์ หมีพลัด. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 118-127.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2024