การพัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยระบบควบแน่น สำหรับวิสาหกิจชุมชนที่ปลูกสมุนไพร
คำสำคัญ:
เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย, ระบบควบแน่น, วิสาหกิจชุมชน, สมุนไพรบทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยระบบควบแน่น สำหรับวิสาหกิจชุมชนที่ปลูกสมุนไพร มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยระบบควบแน่น โดยความร่วมมือของสถานศึกษาและวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bio-economy) และ 2) เพื่อถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และส่งมอบสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมให้แก่ชุมชนเพื่อเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนส่งผลต่อประเทศ
ผลการงานวิจัยนี้ 1) สามารถสร้างเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยระบบควบแน่น โดยการสร้างเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยระบบควบแน่น สำหรับการหาประสิทธิภาพของเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยระบบควบแน่น พบว่าการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส และ 120 องศาเซลเซียส โดยใช้ปริมาณตะไคร้ 30 กิโลกรัมและใช้เวลาต้มที่ 5 ชั่วโมง พบว่า ที่อุณหภูมิในการต้มที่ 100 องศาเซลเซียส ได้น้ำมันหอมระเหยเฉลี่ยที่ 67.6 มิลลิลิตร คิดเป็น 4.5 % และที่อุณหภูมิในการต้มที่ 120 องศาเซลเซียส ได้น้ำมันหอมระเหยเฉลี่ยที่ 70.2 มิลลิลิตร คิดเป็น 4.68 % การจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้งาน และส่งมอบ ณ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “วนเกษตรบ้านป่า” วิสาหกิจชุมชนจัดการสมุนไพรวนเกษตรป่าตะวันออก อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
References
เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2564). [ออนไลน์]. นวัตกรรมสกัดน้ำมันหอมระเหย เพิ่มมูลค่าสมุนไพรชุมชน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2567]. จาก https://today.line.me/th/v2/article/2DgEa5B.
ชวน อยู่สุวรรณ, ปราณี ปิ่นเงิน, รัตนา เฉลิมกลิ่น, และพรรณี เดชกำแหง. (2547). น้ำมันหอมระเหยจากได้ดอกหอม 3 ชนิด ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
อัจฉริยาภรณ์ ไชยโย. (2560). เครือข่ายการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านนาอีสาน ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 6(2), 134-163.
สุนีย์ แป้นทะเล. (2551). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพร เพื่อการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนเครือข่ายป่าตะวันออก กรณีศึกษาบ้านนาอีสาน หมู่ที่ 16 ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ธนาคาร คุ้มภัย, ประทิน เลี่ยนจำรูญ, และสมพร ปานดำ. (2564). การพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม.วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 1(1), 52-62.
สุรชัย แก้วบุญเรือง, สุชาดา ไชยสวัสดิ์, ภานุ พลายบัว, และทัศนีย์ มหาอาด. (2558). การพัฒนากระบวนการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากขมิ้นชัน ในเชิงพาณิชย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
โพธิ์ทอง ประณีตพลกรัง และประพัน ลี้กุล. (2561). เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรโดยใช้พลังงานชีวมวลสำหรับชุมชน. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ชัยยะ ประณีตพลกรัง, นฤทธิ์ คชฤทธิ์, ไพฑูรย์ พูลสุขโข, ศักดิ์ชัย จันทศรี, และปราโมทย์ พูนนายม. (2548). การออกแบบและสร้างเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูด. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
นิติพงษ์ สมไชยวงค์, จิรพงศ์ พิบูลศิลป์, ธีรภัทร์ อินแจ้, และพงศ์สิริ ไชยคำ. (2565). การออกแบบและสร้างเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยควบคุมแบบปิด. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(1), 25-36.
พงษ์ศักดิ์ พลเสนา ยุทธนา บรรจง และลักขณา ต่างใจ. (2555). การทดลองกลั่นน้ำมันหอมระเหยพืชสมุนไพร 10 ชนิด ด้วยเครื่องกลั่นแก้วมาตรฐานและเครื่องกลั่นระดับชุมชน. ฉะเชิงเทรา: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
เดโช ไชยทัพ. (2555). การพัฒนาชุมชนนวัตกรรมการยกระดับสิทธิชุมชนสู่การสร้างเศรษฐกิจสีเขียว. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือ: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.