รูปแบบการตัดสินใจตามปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการ โรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • กนกรัตน์ พงษ์โพธากุล คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สาธนี แก้วสืบ กองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • ใจพร ลาภาพิสิษฐ์ บริษัท อะซาดะ เคมีคอล จำกัด

คำสำคัญ:

รูปแบบการตัดสินใจ, โรงแรมขนาดเล็ก, นักท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสระบุรี และ 2) องค์ประกอบและรูปแบบของการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีประสบการณ์เข้าพักโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดสระบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ในภาพรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคคลมีระดับความสำคัญสูงสุดมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และรายข้อในภาพรวม พบว่า รายข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ พนักงานมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส และพูดจาสุภาพ 2) ผลการศึกษาองค์ประกอบและรูปแบบของการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสระบุรี พบว่า ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) ด้านความโดดเด่นของโรงแรม (2) ด้านภาพลักษณ์ของโรงแรม (3) ด้านข้อมูลลูกค้า การเข้าถึงและราคาที่ให้บริการ (4) ด้านลักษณะการให้บริการและโปรโมชั่น (5) ด้านกลยุทธ์การให้บริการ (6) ด้านความเสมอภาคและความซื่อสัตย์ในการให้บริการ (7) ด้านลักษณะภายในโรงแรม และ (8) ด้านลักษณะห้องพักและบริการเสริม ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ในการออกแบบการให้บริการสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

References

United Nation of World Tourism Organization. (2021). [online]. Covid-19 And Tourism 2020: A Year Review. [Retrieved August 14, 2022]. from https://www.unwto.org/covid-19-and-tourism-2020.

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). [ออนไลน์]. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย 1/2565. [สืบค้น เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565]. จาก https://www.thailandtourismcouncil.org/product/thailand-tourism-confidence-index-2022-1/#dflip-df_3795/1/.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2565). [ออนไลน์]. ธุรกิจโรงแรม ปี 2565. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565] จาก https://www.gsbresearch.or.th/gsb/published-works/economic-and-business-research/10206/.

สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม. (2565). การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย ในไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

รสสุคนธ์ แซ่เฮีย และนิตนา ฐานิตธนกร. (2558). ปัจจัยพฤติกรรมการใช้บริการโรงแรม คุณภาพ การบริการ ส่วนผสมการตลาดบริการ และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของ ลูกค้าชาวต่างชาติที่ใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาวแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นหว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

ปิยะพร จันทบุตร. (2562). ปัจจัยทางการตลาดและความพึงพอใจในการใช้บริการธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาว ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดภูเก็ต กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างนักท่องเที่ยวชาวยุโรป และชาวเอเชีย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.

Rafiq, M., & Ahmed, P. K. (1995). Using the 7Ps as a Generic Marketing Mix: An Exploratory Survey of UK and European Marketing Academics. Marketing Intelligent & Planning, 13, 4-15.

ชวฤทธิ์ โยศรีคุณ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกพักโรงแรมในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 10(1), 46-54.

นวลปราง ขันเงิน. (2562). กลยุทธ์การตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(2), 199-210.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). [ออนไลน์]. สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2565. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565]. จาก https://www.mots.go.th/news/category/657.

ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). [ออนไลน์]. รายงานระบบโรงแรม โรงแรม. [สืบค้นวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565]. สืบค้นจาก http://dpa.dopa.go.th/DPA/reporter_dpaSearch.php.

Fiorentino, A. (1995). Budget Hotels: Not Just Minor Hospitality Products. Tourism Management, 16(6), 455-462.

Kotler, P. (2003). Principi di Marketing (Italian Translation of Principles of Marketing). NJ: ISEDE and Prentice Hall International.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed). New York: Harper & Row.

ปฤณพร บุญรังสี และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(ฉบับพิเศษ), 193-205.

วิภาวัลย์ ตันติปิฎก. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยว กลุ่มเจเนอเรชั่นวายในจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ทรรศนันท์ จุลเกษมศักดิ์ และรวิดา วิริยกิจจา. (2564). การแบ่งกลุ่มผู้ใช้บริการโรงแรมยุค New Normal ในเขตกรุงเทพมหานครโดยใช้ปัจจัยพฤติกรรมการซื้อและการใช้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 10(2), 92-106.

กรรณณิกา ผลเจริญ. (2563). ปัจจัยการรับรู้คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการใช้บริการที่พักราคาประหยัดในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างนักท่องเที่ยวชาวเอเชียกับชาวยุโรป. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.

ชลธิชา เตชวัชรมงคล. (2559). การตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรม ระดับ 5 ดาว ในเขตพื้นที่ อำเภอ

หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การค้นหว้าอิสระหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

Parasuraman, A. P., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A Multiple-item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

ปรวีร์ คีรี. (2562). ความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการบริการของผู้ใช้บริการโรงแรมราคาประหยัดในเขตสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร. การค้นหว้าอิสระหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

Millet, J. D. (1954). Management in the Public Service: The Quest for Effective Performance. New York: McGraw Hill Book Company.

พุทธินันท์ ปัญญาพุฒินันท์ (2560). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่พักในเขาหลัก จังหวัดพังงา ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. การค้นหว้าอิสระหลักสูตรศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

พรสิริ ทิวาวรรณวงศ์. (2546). เอกสารการสอน วิชาหลักการบริหาร. ขอนแก่น: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Etzer, M. J., Walker, B. J. and Stanton, W. J. (2007). Marketing (14th ed.). Boston: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2024