การพัฒนาโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาเพื่อเสริมสร้างทักษะสมรรถนะวิชาชีพ สู่การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

ผู้แต่ง

  • ฤทัย ประทุมทอง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ทรงนคร การนา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • วิมล บุญรอด คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ธนัท ธนอัศวพล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาโครงสร้างหลักสูตร, สมรรถนะวิชาชีพ, การเทียบโอนความรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา 2) พัฒนาโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา 3) ประเมินโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 50 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จากกลุ่มภาคีเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 1) ตัวแทนจากภาคมหาวิทยาลัย และ2) ตัวแทนจากภาคการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบเมินความเหมาะสมของโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา และแบบประเมินคุณภาพโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบโครงสร้างของหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา ประกอบด้วย (1) สมรรถนะรายวิชาของหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาสำหรับการจัดสอนอาชีพ ตรงหรือสอดคล้องกับสมรรถนะรายวิชาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 (2) จำนวนชั่วโมงเรียนไม่น้อยกว่าจำนวนชั่วโมงเรียนของรายวิชาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2) โครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา มีองค์ประกอบของหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา 9 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ชื่อหลักสูตรรายวิชา องค์ประกอบที่ 2 จำนวนชั่วโมงเรียน องค์ประกอบที่ 3 สมรรถนะรายวิชา องค์ประกอบที่ 4 คำอธิบายรายวิชา องค์ประกอบที่ 5 เนื้อหาสาระ องค์ประกอบที่ 6 การวัดและประเมินผล องค์ประกอบที่ 7 เครื่องมือ/วัสดุ/อุปกรณ์ องค์ประกอบที่ 8 เอกสารประกอบและแหล่งเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 9 พื้นความรู้หรือคุณสมบัติของผู้เรียน ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 24 วิชา และผลการประเมินความเหมาะสมของโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาเพื่อเสริมสร้างทักษะสมรรถนะวิชาชีพสู่การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินคุณภาพโครงสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาเพื่อเสริมสร้างทักษะสมรรถนะวิชาชีพสู่การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา. (2562). แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ.2562-2565) จังหวัดสงขลา. สงขลา: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา. (2563). แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ.2563-2565) จังหวัดสงขลา ฉบับทบทวนปีงบประมาณ พ.ศ.2565. สงขลา: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 (ปรับปรุง พ.ศ. 2565). กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-referenced Test Item Validity. Dutch Journal of Educational, 2, 49-60.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรื่องที่ 9 การเทียบโอนผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการจัดการศึกษารูปแบบการศึกษานอกระบบ แบบมีชั้นเรียน (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2024