การพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดฝึกการขับเคลื่อนทางไฟฟ้า โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่าน
คำสำคัญ:
ดัชนีความสอดคล้อง, การขับเคลื่อนทางไฟฟ้า, มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่านบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดฝึกการขับเคลื่อนทางไฟฟ้าโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่าน 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกการขับเคลื่อนทางไฟฟ้า โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่าน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์จากคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่าน เพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชา การขับเคลื่อนทางไฟฟ้า หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าและระบบควบคุมอัตโนมัติ พุทธศักราช 2565 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดฝึก เอกสารประกอบชุดฝึก และแบบทดสอบ โดยนำชุดฝึกที่สร้างขึ้นทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าและระบบควบคุมอัตโนมัติ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 42 คน
ผลการวิจัยซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยตั้งไว้ดังนี้ 1) การสร้างชุดฝึกการขับเคลื่อนทางไฟฟ้า โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบไร้แปรงถ่าน 2) การหาประสิทธิภาพของชุดฝึกโดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินมีค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านอยู่ในช่วง 4.389-4.619 ซึ่งอยู่ในระดับดีตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับข้อสอบ (IOC) เป็น 0.9 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ผู้วิจัยได้กำหนด ไว้ที่ 0.5 และ 3) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์จากคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่าค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนเป็น 90.27 และหลังเรียน 83.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติที (t-test) พบ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
สงกรานต์ ภารกุล กำจัด ใจตรง และประสงค์ศักดิ์ สองศรี. (2566). การหาประสิทธิภาพของมอเตอร์ระบายความร้อนในระบบปรับอากาศโดยใช้การวิเคราะห์ด้วยภาพถ่ายความร้อน เมื่อค่าตัวเก็บประจุเกิดการเสื่อมสภาพ. วารสารวิชาการเทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม (JEET), 9(2), 50-61.
โยธิน แสงสง่า. (2544). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอน เรื่องการควบคุมระบบนิวเมติกส์และไฮดรอลิกส์โดยใช้ PLC. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องกล ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.
อัษฎา วรรณกายนต์ นิคม ลนขุนทด เที่ยงธรรม สิทธิจันทเสน ปิยะนันท์ สายัณห์ปทุม สุรเชษฐ์ วงศ์ชัยประทุม และสุชาติ ดุมนิล. (2562). การพัฒนาชุดฝึกการต่อวงจรไฟฟ้าในเครื่องปรับอากาศ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3), 163-178.
สมโภชน์ วงษ์เขียด มนูญ บูลย์ประมุข มานิต ก๋าแก้ว สัญญา พรหมภาสิต และเทพ เกื้อทวีกุล. (2015). การออกแบบและพัฒนาชุดฝึกการเขียนจอทัชสกรีนของ PLC สำหรับควบคุมมอเตอร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา (หน้า 261-267). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.