การออกแบบและสร้างเครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม.

ผู้แต่ง

  • ธงชัย เธียรประสิทธิ์ ภาควิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3
  • กฤษณะ ชูจร ภาควิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3
  • นิพนธ์ บุญสกันต์ ภาควิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3
  • ปัทมา มรรคโช แผนกวิชาช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3
  • ไกรวิชญ์ บัวงาม แผนกวิชาช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3

คำสำคัญ:

เครื่องมือปอกสายเคเบิล, ประเภทสายเคเบิล, การสุ่มแบบเจาะจง, เวลาเฉลี่ย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและสร้างเครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม.
2) เปรียบเทียบเวลาปอกสายเคเบิลชนิดบีบด้วยเครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม. กับมีดคัตเตอร์ และมีดคัตเตอร์ตัดท่อพีวีซี 3) เปรียบเทียบเวลาปอกสายเคเบิลชนิด 2 สลัก ความยาว 5.5 ซม. ด้วยเครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม. กับมีดคัตเตอร์ และมีดคัตเตอร์ตัดท่อพีวีซี 4) เปรียบเทียบเวลาปอกสายเคเบิลชนิด 3 สลัก ความยาว 9 ซม. ด้วยเครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม. กับมีดคัตเตอร์ และมีดคัตเตอร์ตัดท่อพีวีซี และ 5) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อเครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานปฏิบัติการข่ายสายภายนอก จ.สงขลา โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกผลเวลา และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม. ที่สร้างขึ้นได้ผ่านการตรวจสอบและได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 2) ทดสอบเปรียบเทียบระยะเวลาการปอกสายพบว่าปอกสายเคเบิลชนิดบีบ ความยาว 5 ซม. ใช้เวลาเฉลี่ยลดลง 94 วินาที คิดเป็นร้อยละ 65.73 เมื่อเทียบกับมีดคัตเตอร์ และ 57 วินาที คิดเป็นร้อยละ 53.77 เมื่อเทียบกับมีดคัตเตอร์ตัดท่อพีวีซี 3) ปอกสายเคเบิลชนิด 2 สลัก ความยาว 5.5 ซม. ใช้เวลาเฉลี่ยลดลง 103 วินาที ลดลงร้อยละ 65.60 เมื่อเทียบกับมีดคัตเตอร์ และ 79 วินาที คิดเป็นร้อยละ 59.39 เมื่อเทียบกับมีดคัตเตอร์ตัดท่อพีวีซี และ 4) ทดสอบปอกสายเคเบิลชนิด 3 สลัก ความยาว 9 ซม. ใช้เวลาเฉลี่ยลดลง 203 วินาที คิดเป็นร้อยละ 70.73 เมื่อเทียบกับมีดคัตเตอร์ และ 134 วินาที คิดเป็นร้อยละ 61.46 เมื่อเทียบกับมีดคัตเตอร์ตัดท่อพีวีซี 5) ความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อเครื่องมือปอกสายเคเบิลขนาด 50 ตร.มม. ในระดับมากที่สุด

References

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2566). ประวัติ ความเป็นมาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2566]. จาก https://www.pea.co.th/เกี่ยวกับเรา/ประวัติความเป็นมา.

ชนม์นิภา กุลชาติสถาพร และเลิศชัย ระตะนะอาพร. (2562). การวิเคราะห์หาสาเหตุและมาตรการป้องกันสายไฟฟ้าแรงสูงขาดในเมืองพัทยา. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(21), 52-63.

จิรพัฒน์ ลิ่มทอง และชวนชม ลิ่มทอง. (2564). การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องปอกสายเคเบิลขนาด 185 ตร.มม. แบบโยก 10-45 องศา. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 6(1), 63-69.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2024