การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สกัดกาแฟแบบดริปจากวัสดุแปรรูปหวาย

ผู้แต่ง

  • กิตติพัฒน์ วัฒนานุสรณ์ สาขาวิชาการออกแบบเพื่อธุรกิจ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นพดล อินทร์จันทร์ สาขาวิชาการออกแบบเพื่อธุรกิจ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

กาแฟดริป, วัสดุแปรรูปหวาย, นวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สกัดกาแฟแบบดริปจากวัสดุแปรรูปหวาย เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อทำการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สกัดกาแฟแบบดริปจากวัสดุแปรรูปหวาย ซึ่งเป็นไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยและมุ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติเพื่อทดแทนวัสดุแบบดั้งเดิม โดยได้ทำการเก็บข้อมูลและหาข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้บริโภคผู้ที่ใช้งานจริง ผู้เชี่ยวชาญด้านการจักสานหวาย ผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์และกำหนดแนวทางการสำหรับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

ผลการวิจัยพบว่าการใช้ลายสานจูงนางเป็นลวดลายที่เหมาะสมในการนำมาผลิตเนื่องจากมีอัตราการไหลของน้ำที่เหมาะสมกับการนำไปพัฒนาเป็นอุปกรณ์สกัดกาแฟแบบดริปมากที่สุด จึงได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบออกมาทั้ง 2 แบบด้วยกันคือแบบสานทึบและแบบสานโปร่งพบว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ 1 หรือแบบสานทึบ นั้นมีความเหมาะสมมากที่สุดเนื่องจากสามารถแสดงถึงคุณค่าความเป็นไทยผ่านงานจักสานได้อย่างชัดเจนและมีจุดเด่นคือให้กลิ่นธรรมชาติหรือสัมผัสใหม่ระหว่างดริปกาแฟ จากนั้นจึงนำไปขายผ่านช่องทางออนไลน์จึงได้ความคิดเห็นจากทั้งผู้บริโภคที่ได้บริโภคจริงและจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 ท่าน จึงพบว่าข้อที่ควรปรับแก้ผลิตภัณฑ์คือด้านการออกแบบในส่วนของการสานให้เรียบร้อยจะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถแสดงถึงคุณค่าของงานจักสานได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นผ่านผลิตภัณฑ์จักสานใหม่ที่มีความร่วมสมัยด้วยวัสดุธรรมชาติ ไม่ซ้ำซากจำเจให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าถึงและสนับสนุนผู้ที่ประกอบอาชีพงานจักสานหวายให้อยู่คู่กับคนไทยต่อไป

References

ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2564). [ออนไลน์]. ตลาดกาแฟในประเทศไทยปี 2564. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565]. จาก https://fic.nfi.or.th/market-intelligence-detail.php?smid=364.

Positioning. (2564). [ออนไลน์]. ตลาดกาแฟปี 2563. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565]. จาก https://positioningmag.com/1337014.

กรมป่าไม้. (2561). [ออนไลน์]. แผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรไผ่และหวายแห่งชาติ พ.ศ. 2561-2579. [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2565]. จาก https://www.tei.or.th/file/events/2018-inbar-plan_24.pdf.

Kurasu. (2021). [ออนไลน์]. เลือกดริปเปอร์ยังไงให้เหมาะกับตัวเอง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2565]. จาก https://kurasubkk.com/th/blogs/new-blog/how-to-choose-the-dripper-which-one-is-right-for-you.

มยุรี เรืองสมบัติ ยุวดี พรธาราพงศ์ นพพร สกุลยืนยงสุข และดรุณรัตน์ พิกุลทอง. (2555). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกรณีศึกษาเฟอร์นิเจอร์จากหวายเทียม. กรุงเทพมหานคร: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

พรพิมล ศักดา และบวร เครือรัตน์. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของใช้จากวัสดุธรรมชาติของกลุ่มอาชีพเสริมบ้านสุขเกษม ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

นลินทิพย์ เศวตสุวรรณ. (2557). โครงการออกแบบชุดกาแฟดริปที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากลวดลายโอ่งราชบุรี. ปริญญาศิลปะบัณฑิต ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ประทักษ์ คูณทอง. (2565). [ออนไลน์]. การศึกษาลวดลายหัตถกรรมเครื่องจักรสานพื้นบ้านท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาลวดลายบนเครื่องเรือน: กรณีศึกษา กลุ่มหัตถกรรมเครื่องจักสานบ้านหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2565]. จากhttps://homepoom2017.files.wordpress.com/2016/09/02_e0b89be0b8a3e0b8b0e0b897e0b8b1e0b881e0b8a9e0b98c-e0b884e0b8b8e0b893e0b897e0b8ade0b887.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2024