การพัฒนาระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติสำหรับสวนทุเรียน โดยสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน
คำสำคัญ:
อาร์ดูโน่, อุปกรณ์วัดความชื้นในดิน, อุปกรณ์วัดอุณหภูมิ, อุปกรณ์วัดอัตราการไหลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติสำหรับสวนทุเรียนโดยสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน และ 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติสำหรับสวนทุเรียนโดยสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติสำหรับสวนทุเรียนโดยสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน และแบบประเมินประสิทธิภาพ การเก็บรวบรวมการวิจัย ได้แก่ การบันทึกข้อมูลการทดสอบประสิทธิภาพระบบควบคุมการจ่ายน้ำและทดสอบประสิทธิภาพการสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและสมการการถดถอยเชิงเส้น ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการออกแบบและสร้างระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติสำหรับสวนทุเรียน โดยใช้เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ซับเมอร์สชนิดไฮบริดโดยนำแอปพลิเคชัน Blynk สมาร์ตโฟนมาประยุกต์ใช้ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลกะหรอ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพระบบควบคุมการจ่ายน้ำ อัตราการไหลน้ำเฉลี่ยสูงสุด คือ เดือนมิถุนายน โดยความสัมพันธ์เป็นเส้นตรง มี R² = 0.9454 จัดอยู่ในรูปสมการเส้นตรง y = 0.0125x - 4.2031 กำลังไฟฟ้ากระแสตรงที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ (PV) แปรผันตรงกับค่ารังสีแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้น และกำลังไฟฟ้าเฉลี่ยรายวันมีค่าเฉลี่ย 2.08 kW คิดเป็น 90.43% ของกำลังไฟฟ้าสูงสุด (2.30 kW) โดยช่วงเวลาที่มีค่ารังสีแสงอาทิตย์สูงสุดเฉลี่ย 443 W/m2 ในเวลา 10.00 น. ประสิทธิภาพระบบควบคุมการจ่ายน้ำสามารถกำหนดระยะเวลาในการเปิด-ปิดน้ำตามเวลาที่เหมาะสมได้ และ 2) ประสิทธิภาพระบบสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน พบว่า ค่าความชื้นในดินทั้ง 6 จุด มีค่าเพิ่มขึ้น และค่าอุณหภูมิในอากาศเพิ่มขึ้น โดยความชื้นในดินค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เดือนพฤษภาคม ค่าความชื้นในดินค่าเฉลี่ย 71.50% และค่าอุณหภูมิในอากาศสูงสุด 37°C ถือเป็นการสร้างนวัตกรรมระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนมัติสำหรับสวนทุเรียนโดยสั่งงานผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟนพื้นที่สวนทุเรียนอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในบริบทเชิงพื้นที่อย่างแท้จริง
References
กรมวิชาการเกษตร. (2561). การผลิตทุเรียนภาคใต้ตอนล่าง. สงขลา: สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). [ออนไลน์]. ผลผลิตทางการเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565]. จาก https://mis-app.oae.go.th/product/ทุเรียน.
ศิริพร วรกุลดำรงชัย และคณะ. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตทุเรียนคุณภาพและการกระจายการผลิต. จันทบุรี: ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: สามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
Bhookya, J., Kumar, M. V., Kumar, J. R., Rao, A. S. (2022). Implementation of PID Controller for Liquid Level System using mGWO and Integration of IoT Application. Department of Electronics and Communication Engineering, Journal of Industrial Information Integration, 28, 100368.
นัทกมล ผินนอก. (2563). การพัฒนาระบบเซนเซอร์สำหรับตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อประยุกต์ใช้งานด้านเกษตรแม่นยำด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.