พัฒนาการความแปรเปลี่ยนของสถาปัตยกรรมเมรุในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
คำสำคัญ:
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, เมรุ, ป่าเฮี่ยว, เชียงใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการความแปรเปลี่ยนของสถาปัตยกรรมเมรุในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี เริ่มจากการเก็บข้อมูล การค้นคว้าเอกสารงานวิจัย นโยบายที่เผยแพร่ทางสาธารณะของภาครัฐ จากนั้นทำการสำรวจ ร่วมกับการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างกับผู้ใช้งานในพื้นที่ เช่น ผู้ประกอบพิธีกรรม ผู้นำชุมชน และตัวแทนจากเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยมีพื้นที่กรณีศึกษาป่าเฮี่ยว 3 แห่ง ที่อยู่โดยรอบพื้นที่ใจกลางเมือง ได้แก่ ป่าเฮี่ยวหายยา ป่าเฮี่ยวช้างเผือก และป่าเฮี่ยวช้างคลาน จากนั้นนำรูปแบบของสถาปัตยกรรมมาวิเคราะห์ทำเป็นแบบสถาปัตยกรรม และสังเคราะห์พัฒนาการของสถาปัตยกรรมเมรุในป่าเฮี่ยว
ผลการวิจัยพบว่าชาวล้านนาเชื่อว่าการทำลายเมรุเดิม ถือเป็นการลบหลู่ต่อผีบรรพบุรุษอย่างร้ายแรง ตกขึด ส่งผลให้เกิดเหตุ เภทภัย ภายในป่าเฮี่ยวเมรุจึงมีแต่การสร้างใหม่ และเก็บเมรุเก่าไว้ในสภาพเดิมส่งผลให้มีเมรุหลายรูปแบบเปรียบเหมือนบันทึกประวัติศาสตร์เรื่องราวความเปลี่ยนแปลงของเมืองเชียงใหม่ ผ่านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่แสดงถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมล้านนา นอกจากผลการวิจัยยังพบหลักฐานทางสถาปัตยกรรมเป็นเมรุที่สันนิษฐานการสร้างอยู่ช่วงปี พ.ศ. 2207 อายุกว่า 350 ปี ซึ่งเดิมการค้นพบข้อมูลทางเอกสารจากมิชชันนารีกล่าวถึงเมรุและการเผ่าศพว่าน่าจะเกิดขึ้นหลังจากปี พ.ศ. 2430 ซึ่งเป็นระยะเวลาในช่วง 140 ปีที่ผ่านมา
References
ศรีเลา เกษพรหม. (2551). วิถีชีวิตคนเมือง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อภิโชค เลขะกุล. (2560). การวิจัยเพื่อการศึกษาและออกแบบสภาพแวดล้อม. เชียงใหม่: ศูนย์บริหารงานวิจัย สำนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Denzin, N. K. (1989). The Research Act: A Theoretical Introduction to Sociological Methods (3rd ed.). New Jersey, United States of America: McGraw-Hill.
ศรีเลา เกษพรหม. (2544). ประเพณีชีวิตคนเมือง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2560). งานศพยุคแรกอุษาคเนย์. กรุงเทพมหานคร: นาตาแฮก.
เสฐียรโกเศศ. (2553). ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ศยาม.
สนั่น ธรรมธิ. (2553). ร้อยสาระสรรพล้านนาคดี เล่มที่ 3. เชียงใหม่: นันทการต์การฟฟิคการพิมพ์.
ชาตรี ประกิตนนทการ. (2564, มิถุนายน 30). เมรุปูน-เมรุวัดไตรมิตร ปัญหาว่าด้วยความสืบเนื่อง และรอยแยกของการปฏิวัติ 2475. มติชนสุดสัปดาห์.
คงกะพันธ์ พงศ์นาวี. ข้าราชการประจำตำแหน่งหัวหน้าสถาปนิก ฝ่ายออกแบบสถาปัตยกรรม กองช่างเทศบาลนครเชียงใหม่. (15 ตุลาคม 2565). สัมภาษณ์.
ทนง แก้วเรือน. ข้าราชการประจำตำแหน่งตรวจสอบอาคาร ฝ่ายตรวจสอบอาคารสถานที่ กองช่างเทศบาลนครเชียงใหม่. (15 ตุลาคม 2565). สัมภาษณ์.
ศราวุธ กันธิโน. ข้าราชการประจำตำแหน่งตรวจสอบอาคาร ฝ่ายออกแบบสวนสาธารณะ กองช่างเทศบาลนครเชียงใหม่. (15 ตุลาคม 2565). สัมภาษณ์.
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. (2562). [ออนไลน์]. เมรุปูนและวิกลิเกเมรุปูน วัดสระเกศฯ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563]. จาก https://www.facebook.com/Vlekprapaifoundation/posts/3839557866116675/.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2555). โครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม: ประวัติศาสตร์ล้านนา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญทา ศรีพิมพ์ชัย และศรีเลา เกษพรหม. (2562). ขึด: ข้อห้ามในล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรศิริ ปาณินท์ และนพดล จันทวีระ. (2554). บ้านและเรือนพวนเชียงขวาง: การย้อนกลับมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในพื้นที่เดิม. วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, 25, 45-73.
อัศวิน โรจน์สง่า. (2563). พื้นที่ทางวัฒนธรรมในเฮือนไทญ้อบ้านคลองน้ำใสจังหวัดสระแก้ว. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 21(2), 177-189.
อรศิริ ปาณินท์. (2546). ภูมิปัญญาชาวบ้านในเรือนพื้นถิ่นไทพวนในประเทศไทย: การนำไปสู่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นใหม่บนฐานของภูมิปัญญาและเทคโนโลยีท้องถิ่น. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปกร.
จิราภา สุนันต๊ะ และลักษณา สัมมานิธิ. (2564). การเพิ่มพื้นที่สีเขียวของเมืองในศาสนสถานประเภทวัด กรณีศึกษาเทศบาลนครเชียงใหม่. สาระศาสตร์, 4(1), 236-249.
แพรพลอย วัฒนะโชติ และปรีชญาณ์ นักฟ้อน. (2566). การวิเคราะห์เครือข่ายนโยบายในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 53(1), 161-183.
อิทธิพร ขำประเสริฐ. (2566). การวิเคราะห์ปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคมเพื่อการอนุรักษ์ชุมชนเมือง. วารสารข่วงผญา, 17(1), 66-88.
อภิปิยา เทียนทรัพย์. (2566). แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์เมืองโบราณเชียงแสน จ.เชียงราย. สาระศาสตร์, 6(1), 166-179.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.