การออกแบบและศึกษาประสิทธิภาพของหุ่นยนต์เก็บข้อมูลผู้ป่วยแสดงข้อมูลโดย NETPIE

ผู้แต่ง

  • ชลพรรษ บทมาตร แผนกวิชาเมคคาทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5
  • ถวัลย์ แสงนา แผนกวิชาเมคคาทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5
  • ภัทราภรณ์ ปอโนนสูง แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคนครโคราช สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5

คำสำคัญ:

หุ่นยนต์, ข้อมูลผู้ป่วย, NETPIE

บทคัดย่อ

วิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบและศึกษาประสิทธิภาพของหุ่นยนต์เก็บข้อมูลผู้ป่วยแสดงข้อมูลโดย NETPIE โดยการวัดอุณหภูมิภายในร่างกายและอัตราการเต้นของหัวใจภายในร่างกาย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งไปแสดงยัง NETPIE โดยใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ต สามารถช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถนำเวลาไปดูแลผู้ป่วยได้มากยิ่งขึ้น

ผลการทดสอบสมรรถภาพของหุ่นยนต์เก็บข้อมูลผู้ป่วยแสดงข้อมูลโดย NETPIE สามารถแบ่งผลทดสอบออกเป็นดังนี้ การทดสอบความเร็วในการเคลื่อนที่ที่เหมาะสมกับหุ่นยนต์ฯ คือ 72 rpm การทดสอบตรวจวัดอุณหภูมิภายในร่างกายผู้ป่วย ค่าเฉลี่ยจากหุ่นยนต์วัดอุณหภูมิใช้เซนเซอร์ MLX90614 อยู่ที่ 36.08 °C และค่าเฉลี่ยจากเครื่องวัดอุณหภูมิใช้อุปกรณ์ Infrared Temp Gun อยู่ที่ 36.16 °C มีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ ±0.08 °C การทดสอบตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจภายในร่างกายผู้ป่วย ข้อมูลจากเซนเซอร์ตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจภายในร่างกายกับข้อมูลที่ได้จากเครื่องตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจภายในร่างกาย ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 75.4 ครั้งต่อนาที และข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 76.1 ครั้งต่อนาที มีค่าคาดเคลื่อน ±0.7 ครั้งต่อนาที ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหุ่นยนต์เก็บข้อมูลผู้ป่วยด้านความพึงพอใจต่อการใช้งานและด้านโครงสร้าง พบว่า มีความพึงพอใจขั้นตอนการใช้งานสะดวก ไม่ซับซ้อนอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจต่อสามารถเคลื่อนที่ได้ตรงตามตำแหน่งที่กำหนดไว้อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อระบบขับเคลื่อนทำงานได้เหมาะสมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อรูปร่างและโครงสร้างแข็งแรงอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจในความปลอดภัยต่อการใช้งานอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจในความสะดวกต่อการวัดอุณหภูมิและอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในระดับมาก

References

ธนัญญา คู่พิทักษ์ขจร. (2556). การตรวจคัดกรองสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย. วารสารโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ, 1(5), 1-3.

บุณย์ฤทธิ์ ประสาทแก้ว. (2548). หุ่นยนต์เพื่อการสำรวจสถานที่เสี่ยงภัย. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 3(6), 86-93.

ดอนสัน ปงผาบ. (2563). ไมโครคอนโทรลเลอร์ ARDUINO. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

เอกชัย ดีศิริ. (2562). การประยุกต์ใช้งาน NETPIE สำหรับตรวจวัดอุณหภูมิในพื้นที่โดยรอบและแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่เครื่องยนต์สูบน้ำดับเพลิง. การประชุมทางวิชาการ สมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย ครั้งที่ 43, 80-90.

วิศรุต ศรีรัตนะ. (2554). เซนเซอร์และทรานสดิวเซอร์ในงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เดชฤทธิ์ มณีธรรม. (2559). คัมภีร์การใช้งาน หุ่นยนต์: Robot. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ และประพจน์ จิระสกุลพร. (2549). ไมโครเวฟพื้นฐานและการประยุกต์ใช้งาน เรื่อง หลักการของสายนำสัญญาณและท่อนำคลื่น. กรุงเทพมหานคร: โครงการไอซีที-เทเลคอมออนไลน์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023