คุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่ที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

ผู้แต่ง

  • หนึ่งธิดา โพธิสาขา สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ไพฑูรย์ พวงยอด สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ชาญวิทย์ หาญรินทร์ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

คุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่, องค์การแห่งการเรียนรู้, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่ 2) ศึกษาและเปรียบเทียบองค์การแห่งการเรียนรู้ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่กับองค์การแห่งการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์คุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่ที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 430 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีจำนวน 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามคุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่ 2) แบบสอบถามองค์การแห่งการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน 

ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่จำแนกตามสถานภาพและขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) องค์การแห่งการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบองค์การแห่งการเรียนรู้จำแนกตามสถานภาพและขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) คุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่กับองค์การแห่งการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ 4) ตัวแปรคุณลักษณะผู้บริหารยุคใหม่ที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 มี 5 ตัวแปร

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร:พริกหวานกราฟฟิก.

สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). มาตรฐานการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด เอ็น. เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา, 12(1), 1-9.

สุรัตน์ ดวงชาทม. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำในโรงเรียนน้ำตกห้วยสวนพลู: การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(4), 119-125.

วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. (2557). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซ์เปอร์เน็ต.

มาโนช จันทร์แจ่ม. (2555). การบริหารจัดการทั้งระบบ. จดหมายข่าว, 4(125), 1-5.

อุษณีย์ จิตตะปาโล. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

ผดุงขวัญ บุตรสิน (2558). คุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (2565). [ออนไลน์]. ข้อมูลสารสนเทศปีการศึกษา 2565. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565]. จาก https://drive.google.com/file/d/1LOg5YW5Hwl-DubDGjRTF-rQ-Sc4Xm5s5/view.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วาริน แซ่ตู. (2562). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.

ชิดกมล ยะสุรินทร์ กัญภร เอี่ยมพญา และนิวัตต์ น้อยมณี. (2562). คุณลักษณะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(5), 35-50.

กนกอร อุ่นสถานนท์. (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สู่การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา. รายงานการประชุม Graduate School Conference, 98-103.

บุษยมาศ สิทธิพันธ์. (2559). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

นิรันดร์ สุธีนิรันดร์. (2558). การศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โดยใช้แนวทางส่งเสริมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารปาริชาต, 28(1), 156-173.

กิ่งกาญจน์ แสนสุข. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์การแห่งการเรียนรู้สถานศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ศิริลักษณ์ มีจันโท และพรเทพ รู้แผน. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 4(2), 17-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2024