การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะ วิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่อง การเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์

ผู้แต่ง

  • สุเทพ นุชิต แผนกวิชาเทคนิคพื้นฐาน วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง

คำสำคัญ:

การสร้างและประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะ, วิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น, การเชื่อม อาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ 2) หาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้เรียนแผนกวิชาช่างยนต์ กลุ่ม 65 ชย. 3 วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ แบบบันทึกข้อมูลผลการฝึกทักษะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ 2) หาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้เรียนแผนกวิชาช่างยนต์ กลุ่ม 65 ชย. 3 วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ แบบบันทึกข้อมูลผลการฝึกทักษะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ ซึ่งใช้เก้าอี้แบบพนักพิงเป็นที่สำหรับนั่งฝึก ด้านบนทำการประกอบติดตั้งเสาสเตนเลส ยึดนัตไว้เพื่อถอดหรือประกอบกับชิ้นงานที่นำมาฝึกทักษะการควบคุมระยะอาร์ก การควบคุมความเร็วในการป้อนลวดเชื่อม และการเอียงมุมลวดเชื่อมที่ถูกต้อง ชุดฝึกทักษะดังกล่าวสามารถทำงานได้ 2 ระบบ คือ ใช้กระแสไฟฟ้าขนาด 220 โวลต์ และใช้หม้อแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ เป็นต้นกำลัง 2) ประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ พบว่าในการทดลองการควบคุมระยะอาร์ก การควบคุมความเร็วในการป้อนลวดเชื่อม และการเอียงมุมลวดเชื่อมของผู้เรียนจำนวน 14 คน ปรากฏว่าการทำงานของอุปกรณ์ชุดฝึกทักษะปกติ และผลการทดลองสามารถใช้ชุดฝึกทักษะการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ได้ทั้ง 3 ด้าน แสดงให้เห็นว่าชุดฝึกดังกล่าวสามารถนำไปใช้งานได้จริง และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกทักษะวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น เรื่องการเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์อยู่ในระดับมาก

References

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน.กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554). มาตรฐานอาชีพและมาตรฐานวิชาชีพสู่การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567]. จาก http://www.thairath.co.th/content/200833.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาศาสน์.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2556). การวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). อุดรธานี: อักษรศิลป์.

วิชาญ โชติกลาง. (2559). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกการเชื่อมทิก เพื่อใช้ฝึกทักษะการเชื่อมในรายวิชางานเชื่อมอาร์กทังสเตนแก๊สคลุม 1 (20103 - 2005). การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน ณ วิทยาลัยนครราชสีมา, นครราชสีมา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2024