สภาพ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัล ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัล, นักศึกษาคณะครุศาสตร์, ความต้องการจำเป็นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งสิ้น 238 คน จากจำนวน 8 สาขาวิชา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ โดยวิธีการสุ่มแบบ แบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง .80-1.00 ค่าอำนาจจำแนก .51-.87 ค่าความเชื่อมั่น .98 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80 -1.00 ค่าอำนาจจำแนก .43-.83 ค่าความเชื่อมั่น .97 สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม มีค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง โดยรวมมีค่าเท่ากับ 0.239 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มี 1 ด้าน ที่มีค่าสูงกว่าค่าโดยรวม ได้แก่ ด้านที่ 2 ด้านใช้งานดิจิทัลอย่างมีความรับผิดชอบและปลอดภัย (PNIModified = 0.255)
References
วรรณากร พรประเสริฐ และรักษิต สุทธิพงษ์. (2562). ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(2), 104-117.
พรชนิตว์ ลีนาราช. (2560). ทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. วารสารห้องสมุด, 61(2), 76-92.
ไพลินรัตน์ กุณสิทธิ์ และธีรภัทร กุโลภาส. (2560). ความต้องการจําเป็นในการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(4), 205-219.
อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรู้ดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 25(2), 296-312.
ปณิตา วรรณพิรุณ และนำโชค วัฒนานัณ. (2560). ความฉลาดทางดิจิทัล. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 29(102), 12-20.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
Meghan Bogardus Cortez. (2017). [online]. Putting a Focus on Media Literacy in the Digital Age. [Retrieved April 21, 2023]. from https://edtechmagazine.com/k12/article/2017/03/putting-Focus-media-literacy-digital-age.
ต้องตา จำเริญใจ. (2561). ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
สรานนท์ อินทนนท์. (2561). ความฉลาดทางดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.).
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). ทักษะดิจิทัลก้าวสู่พลเมืองในศตวรรษที่ 21. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2566], จาก https://www.ops.go.th/th/content_page/item/1355-goto-citizens21st.
UNESCO. (2016). Fostering Digital Citizenship through Safe and Responsible Use of ICT. Bangkok: Bangkok Asia and Pacific Regional Bureau for Education.
วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์. (2558). พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship). เชียงใหม่: คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
คุณาธิป จำปานิล. (2563). แนวทางความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(1), 116-127.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.