การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ระบบบริการการเรียนรู้ โดยใช้กฎความสัมพันธ์

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ กระจ่างศรี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

กฎความสัมพันธ์, พฤติกรรมของผู้เรียน, ระบบบริการการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้เรียนในการใช้ระบบบริการการเรียนรู้โดยใช้กฎความสัมพันธ์ 2) ศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้ระบบบริการการเรียนรู้ด้วยวิธีกฎความสัมพันธ์ และ 3) หารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับระบบบริการการเรียนรู้ด้วยวิธีกฎความสัมพันธ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีที่ใช้งานระบบบริการการเรียนรู้ 402 คน ทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมโดยใช้กฎความสัมพันธ์ด้วยอัลกอริทึม Apriori กำหนดค่าซัพพอร์ทและค่าความเชื่อมั่น 50% และ 80% ตามลำดับ

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้เรียนใช้ระบบบริการการเรียนรู้เพื่อเรียนประกอบในรายวิชาและส่งการบ้าน ผู้เรียนจะเลือกใช้สื่อประกอบโดยเฉพาะสื่อแบบมัลติมีเดียเป็นสื่อหลักสำหรับการเรียนรู้ ทั้งนี้ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อระบบบริการการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นด้วยด้วยอัลกอริทึม Apriori ได้กฎจากข้อมูลชุดนี้จำนวน 73 กฎ เมื่อพิจารณาจากค่าระดับความเชื่อมั่นที่ 95 และจากค่าสหสัมพันธ์ (Lift) ของกฎที่มีค่ามากกว่า 1 ได้จำนวน 5 กฎ 3) จากพฤติกรรมของผู้เรียนและพฤติกรรมของผู้ใช้ระบบจากการวิเคราะห์ด้วยกฎความสัมพันธ์สามารถสร้างรูปแบบระบบบริการการเรียนรู้ที่เหมาะสมได้ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่เลือกจากพฤติกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย ด้านระบบ ด้านการโต้ตอบ ด้านสื่อการสอน และด้านการวัดประเมินผล และรูปแบบที่เลือกจากกฎความสัมพันธ์ ประกอบด้วย ด้านอีเมล ด้านการโต้ตอบกับผู้เรียน ด้านการทดสอบและด้านการส่งงาน จากผลการศึกษานี้สามารถนำมาเป็นแนวทางที่ใช้ในการพัฒนาระบบบริการการเรียนรู้หรือสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ได้

References

สายชล สินสมบูรณ์ทอง. (2560). การทำเหมืองข้อมูล เล่ม 1 การค้นหาความรู้จากข้อมูล. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักส์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พัชรินทร์ มีใย. (2557). การพัฒนาระบบค้นหาข้อมูลสินค้า โดยเทคนิคกฎความสัมพันธ์. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.

เล็กฤทัย ขันทองชัย และจรัญ แสนราช. (2558). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบอีเลิร์นนิงในรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพโดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล. วารสารจันทรเกษมสาร, 21(41), 87-94.

วิโรจน์ ยอดสวัสดิ์ สาโรช ปุริสังคหะ วิมล กิตติรักษ์ปัญญา และอนงค์นาฏ ศรีวิหค. (2560). การสร้างตัวแบบนักท่องเที่ยวภายในประเทศไทยโดยใช้เทคนิคการจัดกลุ่มและกฎความสัมพันธ์ กรณีศึกษา: จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 27(4), 829-841.

ปฏิพัทธ์ ปฤชานนท์ และวงกต ศรีอุไร. (2561). การประยุกต์ใช้กฎความสัมพันธ์เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงการออกกลางคันของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 1(2), 123-133.

อุมาพร กีรติบัญชร. (2552). การศึกษาการทำเหมืองข้อมูลผู้ใช้บริการเว็ปไซต์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.

อรพรรณ อำนวยศิลป์. (2551). การศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้งานเว็บไซต์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, นครศรีธรรมราช.

สมฤทัย ปั้นพานิช. (2550). การทำเหมืองเว็บโดยเทคนิคการจัดหมวดหมู่และกฎความสัมพันธ์: กรณีศึกษาเว็บไซต์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยของแก่น, ขอนแก่น.

ณัฐวลัย คมขำ. (2556). การวิเคราะห์แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประชากรในประเทศไทยโดยใช้กฎความสัมพันธ์และการจัดแบ่งประเภทข้อมูล. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023