แนวทางพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนัง

ผู้แต่ง

  • พรหมพักตร์ บุญรักษา สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • พัชรินทร์ อินทมาส สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • อุไรวรรณ วันทอง สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การพัฒนาขับเคลื่อน, เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม, การเลือกแบบเจาะจง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาและถ่ายทอดการเรียนรู้ขับเคลื่อนเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช Smart Farmer ต้นแบบ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประธาน รองประธานและกรรมการกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการ สมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนัง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2565 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 110 คน การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 65 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ผลโดยสถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการศึกษา ดังนี้ 1) แนวทางพัฒนาขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราชมีความต้องการพัฒนาด้านการสื่อสารมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านการเก็บข้อมูลควรพัฒนาการใช้เทคโนโลยีแปรรูปผลผลิตจากการเลี้ยงแพะ 1.2) ด้านการสื่อสารควรพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต/ลดต้นทุนให้กับเกษตรกร 1.3) ด้านการวิเคราะห์/พยากรณ์ควรพัฒนาการขยายผลพัฒนา/ดัดแปลงเครื่องจักรกลจากภูมิปัญญาเครื่องจักรกลเกษตรเพื่อลดการใช้แรงงานคนเพื่อใช้กับเกษตรกรรายย่อย 1.4) ด้านระบบช่วยตัดสินใจควรพัฒนาการเชื่อมโยงตลาดเพื่อให้เกษตรกรขายผ่าน E-commerce 2) แนวทางการถ่ายทอดการเรียนรู้ขับเคลื่อนเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่แพะลุ่มน้ำปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช ต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ (Reskill & Upskill) มากที่สุด

References

กรมปศุสัตว์. (2561). ยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ พ.ศ. 2561-2565. กรุงเทพมหานคร: กรมปศุสัตว์.

World Bank. (2007). World Development Report 2008: Agriculture for Development. Washington, DC: World Bank.

กลุ่มผู้เลี้ยงแพะลุ่มน้ำปากพนัง. (2563). โครงการนวัตกรรมเพื่อการเพิ่มมูลค่าสัตว์เศรษฐกิจ: แพะเนื้อ. นครศรีธรรมราช: สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช.

กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). คู่มือการขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center: AIC). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์. (2563). โครงการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เกษตรกร/บุคคลทางการเกษตรดีเด่นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ (อาชีพเลี้ยงสัตว์). นครศรีธรรมราช: กรมปศุสัตว์.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2564). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด. นครศรีธรรมราช: สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช.

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2564). นวัตกรรมเพื่อการเพิ่มมูลค่าสัตว์เศรษฐกิจ: แพะเนื้อ, เอกสารแบบสรุปโครงการแบบย่อ (Project Idea). นครศรีธรรมราช: กรมปศุสัตว์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

จิรวุฒ มงคล. (2557). ความต้องการการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิพัฒน์ แซ่เฮง จิตติมา ดำรงวัฒนะ เดโช แขน้ำแก้ว และอุดมศักดิ์ เดโชชัย. (2561). แพะเขาใหญ่: แนวทางส่งเสริมการเลี้ยงแพะในชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านเขาใหญ่ หมู่ที่ 5 ตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 1(2), 57-73.

สุธา โอมณี. (2560). การศึกษารูปแบบการเลี้ยงและวิถีการตลาดแพะเนื้อ กรณีศึกษา จังหวัดสุราษธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

จรรยา กลัดล้อม. (2565). การดำเนินแผนธุรกิจในผลิตภัณฑ์ ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลแพะ-ปุ๋ยอินทรีย์วิถีชัยนาท. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

ศุภวิชญ์ ภูวประภาชาติ. (2563). การจัดการโซ่อุปทานของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อในจังหวัดอ่างทอง. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

นิรุจน์ พันธ์ศรี และพิสมัย พงษ์วัน. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของการเลี้ยงแพะในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023