ถังดักไขมันจากการผลิตอาหารภายในเรือสินค้าเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล

ผู้แต่ง

  • ธานินทร์ ภูนฤมิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลเรือ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช
  • บุญเลิศ เจยาคม สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลเรือ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช
  • ชาญวิทย์ พรหมเสน สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลเรือ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ถังดักไขมัน, อาหารภายในเรือสินค้า, สิ่งแวดล้อมทางทะเล

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างถังดักจับไขมันภายในเรือสินค้าเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล 2) หาประสิทธิภาพของถังดักจับไขมันภายในเรือป้องกันการการระบายน้ำทิ้งจากเรือลงสู่ทะเล อันเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายกับสภาพแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งสัตว์ทะเลหรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในทะเล ระบบกำจัดน้ำเสียจึงถูกสร้างขึ้นมาและพัฒนาเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ คือ เป็นที่จัดเก็บของเสียต่าง ๆ ที่เกิดจากการชำระล้างบนเรือ เช่น น้ำเสียจากการอุปโภค บริโภคและเพื่อบำบัดน้ำทิ้งให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นก่อนที่จะระบายลงสู่น้ำทะเล เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพ แบบบันทึกผลการทดสอบถังดักจับไขมันภายในเรือถังดักไขมันจากการผลิตอาหารภายในเรือสินค้าเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล

ผลจากการวิจัย พบว่า ถังดักไขมันจากการผลิตอาหารภายในเรือสินค้าเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก ผลจากการบำบัดน้ำเสียผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด

References

ไมตรี จิรไมตรี. (2551). การพัฒนาถังดักไขมันโดยการดูดซับด้วยกาบมะพร้าว. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

จักรพันธุ์ ปัญจะสุวรรณ. (2545). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้งติ้ง เฮ้าส์.

ประวรดา โภชนจันทร์ จตุรดา โภชนจันทร์ และพิทักษ์ จันทร์เจริญ. (2564). ถังดักไขมันที่เหมาะสมและบำรุงรักษาได้ง่ายสำหรับร้านค้าที่ผลิตอาหารขนาดเล็ก. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น, 43(1), 18-34.

กุลธิดา บรรจงศิริ. (2018). แนวทางการจัดการอาหารที่ถูกทิ้ง. SAU JOURNAL OF SCIENCE & TECHNOLOGY, 4(1), 43-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023