การพัฒนาและหาประสิทธิภาพเครื่องถอดประกอบสปริงโช้คอัพแบบแม่แรง

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ คงสง สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช
  • วิมล ชูขันธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช
  • เอกศักดิ์ สงวนคำ สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

โช้คอัพ, แม่แรง, เครื่องถอดประกอบสปริงโช้คอัพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องถอดประกอบสปริงโช้คอัพแบบแม่แรง และ 2) หาประสิทธิภาพเครื่องถอดประกอบสปริงโช้คอัพแบบแม่แรง กลุ่มตัวอย่างเป็นช่างซ่อมบำรุงรักษารถยนต์โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากบริษัท ฮอนด้าเทิดพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน คือแบบบันทึกการทดลอง และแบบประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องถอดประกอบสปริงโช้คอัพแบบแม่แรงที่สร้างขึ้นตามแบบ จากผลการทดสอบการถอดประกอบสปริงโช้คอัพรถยนต์รุ่นต่างๆ ในแต่ละครั้งและจับเวลาปรากฏว่า สามารถถอดประกอบสปริงโช้คอัพรถยนต์รุ่นต่าง ๆ ได้ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องด้านความพึงพอใจของผู้ใช้เครื่องถอดประกอบสปริงโช้คอัพแบบแม่แรงภาพรวมมีระดับคุณภาพในระดับดีมาก 2) ประสิทธิภาพเครื่องถอดประกอบสปริงโช้คอัพแบบแม่แรงสามารถถอดประกอบสปริงโช้คอัพได้โดยไม่เกิดความเสียหายและไม่เสียรูปทรง

References

บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด. (2550). คู่มือการอบรมการบริการก่อนหลังการฝั่งมอบและการบำรุงรักษาตามระยะ เล่ม 3 ระดับ 1. กรุงเทพมหานคร: โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย.

ฝ่ายบริการด้านเทคนิค บริษัท ฮอนด้าออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด. (2551). คู่มือซ่อมบำรุง Jazz 2009. กรุงเทพมหานคร: ฮอนด้าออโตโมบิล.

ฝ่ายบริการด้านเทคนิค บริษัท ฮอนด้าออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด. (2549). คู่มือ CRV 2007. กรุงเทพมหานคร: ฮอนด้าออโตโมบิล.

ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ และคณะ. (2560). เครื่องถอดและประกอบโช้คอัพแม็คเฟอร์สันสตรัทแบบถอดประกอบคู่กึ่งอัตโนมัติ. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 2(2), 42-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023