การพัฒนาเครื่องล้างชิ้นส่วนระบบผสมผสาน

ผู้แต่ง

  • เด่น ตันยุชน แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร
  • ควรรบ อู่มาลา แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร
  • จรุวัตร์ คชรินทร์ แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร

คำสำคัญ:

เครื่องล้างชิ้นส่วน, ระบบผสมผสาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างเครื่องล้างชิ้นส่วนระบบผสมผสาน 2) หาประสิทธิภาพเครื่องล้างชิ้นส่วนระบบผสมผสาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจการใช้เครื่องล้างชิ้นส่วนระบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ช่างเทคนิคประจำศูนย์บริการ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จากบริษัทชัยรัชการชุมพร ระยะเวลาการดำเนินการวิจัย ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เครื่องล้างชิ้นส่วนระบบผสามผสาน แบบประเมินด้านการออกแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) เครื่องล้างชิ้นส่วนระบบผสมผสานที่สร้างประกอบด้วยตะแกรงรองรับชิ้นส่วน ขนาดกว้าง 58 เซนติเมตร ยาว 85 เซนติเมตร อ่างทรงกรวยรองรับน้ำมันมีกรองสำหรับกรองสิ่งสกปรกจากการล้างชิ้นส่วนแยกออกจากน้ำมันขนาดกว้าง 34 เซนติเมตร ยาว 85 เซนติเมตร ฝาสำหรับเปิดปิดใส่ชิ้นส่วน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 58 เซนติเมตร ช่องใส่มือสำหรับการล้างทำความสะอาด เป่าลม จับยึดชิ้นส่วน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 เซนติเมตร และช่องกระจกมองชิ้นส่วนขณะทำการล้างหรือเป่าลม ขนาดกว้าง 24 เซนติเมตร ยาว 22 เซนติเมตร และติดตั้งพัดลมดูดไอน้ำมัน มีระบบการหมุนเวียนของน้ำมันประกอบด้วยกรองและปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง และมีระบบโซลินอยด์วาล์วแรงดันไฟฟ้า 12 V สำหรับการควบคุมการใช้น้ำหรือน้ำมัน ทำงานโดยใช้แรงดันของน้ำมันเพื่อล้างชิ้นส่วนที่มีระบบกรองทำให้สามารถล้างซ้ำได้ครั้งละ 9 รอบ และมีระบบเป่าลมแห้งชิ้นส่วนหลังผ่านการล้าง ซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพด้านการออกแบบชิ้นงานโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด 2) เครื่องล้างชิ้นส่วนระบบผสมผสานใช้เวลาเฉลี่ยน้อยกว่าการล้างทำความสะอาดชิ้นส่วนแบบทั่วไป และ 3) ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานอยู่ในระดับมาก

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2565). [ออนไลน์]. การจดทะเบียนรถยนต์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566]. จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/143331.

สิริภพ ใจสุภาพ. (2556). [ออนไลน์]. การพัฒนาเทคโนโลยีด้านยนต์กรรม. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566]. จาก https://www.stou.ac.th/study/sumrit/3-60/page3-3-60.html.

บริษัท ไทยรุ่งเอ็นเนอร์จี จำกัด. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. วิธีดูแลชิ้นส่วนเครื่องยนต์ให้สะอาด. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566]. จาก https://www.yukonlubricants.com/how-to-defend-the-car-engine/.

ธวัชชัย ลิ้มสุวรรณ และคณะ. (2559). การพัฒนาเครื่องล้างและอัดจารบีตลับลูกปืนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 1(1), 23-30.

วสันต์ ล้อมพิมาย. (2552). เครื่องล้างและอัดจารบีลูกปืนล้อรถยนต์. ระยอง: วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023