การพัฒนารถสามล้อไฟฟ้าเพื่อผู้พิการทางขา

ผู้แต่ง

  • สุเนตร พรหมขุนทอง แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร
  • เด่น ตันยุชน แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคชุมพร
  • อำนาจ เสมอวงศ์ แผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคชุมพร

คำสำคัญ:

ผู้พิการทางขา, รถสามล้อไฟฟ้า, มอเตอร์ไฟฟ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารถสามล้อไฟฟ้าเพื่อผู้พิการทางขา 2) หาประสิทธิภาพรถสามล้อไฟฟ้าเพื่อผู้พิการทางขา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อรถสามล้อไฟฟ้าเพื่อผู้พิการทางขา กลุ่มตัวอย่าง คือ ช่างผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบรถสามล้อไฟฟ้าเพื่อผู้พิการทางขา จำนวน 5 คน และผู้พิการทางขา จำนวน 3 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการทดลองและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า รถสามล้อไฟฟ้าเพื่อผู้พิการทางขาที่พัฒนาขึ้นผู้เชี่ยวชาญประเมินแล้วเห็นว่า สามารถใช้กับผู้ที่พิการทางขา ซึ่งการออกแบบชิ้นงานของผู้ใช้ที่มีต่อรถสามล้อไฟฟ้าอยู่ในระดับดีมาก มีประสิทธิภาพการใช้งานรถสามล้อไฟฟ้าเพื่อผู้พิการทางขา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมามีประสิทธิภาพด้านความเร็วเฉลี่ย 39.33 กม./ชม.ระยะทางที่วิ่งได้เฉลี่ย 19.66 กม. ระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่ 1.18 ชม. และการชาร์จไฟ 1 ครั้ง และใช้เวลาการชาร์จ 6.18 ชม. ระยะหยุดนิ่งของการเบรกเฉลี่ย 2.26 เมตร ภายในเวลา 3.28 วินาที และเมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ในช่วงระยะทาง 10 เมตร ผลปรากฏว่ารถสามล้อไฟฟ้าฯ วิ่งเร็วกว่ารถเข็นคนพิการทั่วไปคิดเป็น 38.74 % และจากผลการประเมินความพึงพอใจของผู้พิการทางขามากที่สุดได้แก่ รถสามล้อไฟฟ้าฯ มีโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรง วัสดุ/อุปกรณ์ที่นำมาใช้พัฒนารถสามล้อไฟฟ้าฯ มีความเหมาะสม รถสามล้อไฟฟ้าฯ มีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน รถสามล้อไฟฟ้าฯ สามารถควบคุมการขับขี่ได้ง่าย รถสามล้อไฟฟ้าฯ มีระบบส่งกำลังที่เหมาะสม และรองลงมารถสามล้อไฟฟ้าฯ มีความสวบงามน่าใช้งานอยู่ในระดับดีมาก

References

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2565). [ออนไลน์]. รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2565]. จาก https://dep.go.th/images/uploads/files/situation-Dec65.pdf.

ณัฐวิคม พันธุวงศ์ภักดี และนิภัทรา นาคสิงห์. (2563). [ออนไลน์]. ผู้พิการในประเทศไทย และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืน-กับคุณเจนจิรา บุญสมบัติ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2565]. จาก https://www.sdgmove.com/2018/04/30/gawa/.

Bangkok E-Bike. (2560) [ออนไลน์]. วิธีการเลือกซื้อชุดมอเตอร์จักรยานยนต์ไฟฟ้าให้เหมาะสม. [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2565]. จาก https://www.bkkebike.com/ebikemotor.

จิณพรต ติมอนรัมย์ วิทยา ก่อแก้ว และวิสิทธิ์ ลุมชะเนาว์. (2562). รถเข็นสำหรับคนพิการควบคุมด้วยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(2), 72-81.

จิระพงศ์ อ่อนหนู ชยางกูร ไชยวงศ์ ชูแมน เผือกเดช ธนาวุฒิ เดี่ยววนิช และสราวุธ สมบูรณ์. (2564). การสร้างและหาสมรรถนะรถเข็นไฟฟ้าปรับนั่งนอนยืนสำหรับผู้ป่วยพักฟื้น. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 6(1), 107-115.

คมสัน มุ่ยสี กฤษณะ จันทสิทธิ์ และศรยุทธ์ จิตรพัฒนากุล. (2561). การประยุกต์ใช้ระบบควบคุมสำหรับรถนั่งคนพิการชนิดมือบังคับการเคลื่อนที่. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 190-199.

สุจินต์ วังใหม่ พิเชษฐ์ โค้วตระกูล และปิยะ กรกชจินตนาการ. (2559). การสร้างรถนั่งคนพิการแบบปรับท่านั่ง-ยืนได้. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 1(1), 66-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023