การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนย่อความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาร่วมกับแผนภาพความคิด

ผู้แต่ง

  • ศุภณัฐ เทียนทอง สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • รัศมี ธัญญาศิริทรัพย์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การเขียนย่อความ, รูปแบบการสอนซิปปา, แผนภาพความคิด

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนย่อความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาร่วมกับแผนภาพความคิด และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาร่วมกับแผนภาพความคิด ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวิชาภาษาไทย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม จำนวน 4 ห้องเรียนที่จัดห้องเรียนตามแผนการเรียน จำนวน 184 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 มีจำนวน 30 คน และกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนย่อความโดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาร่วมกับแผนภาพความคิดจำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนย่อความฉบับก่อนเรียนและหลังเรียน แบบอัตนัย จำนวนชุดละ 2 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาร่วมกับแผนภาพความคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples)

ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การเขียนย่อความโดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาร่วมกับแผนภาพความคิด มีความสามารถด้านการเขียนย่อความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนซิปปาร่วมกับแผนภาพความคิด ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในภาพรวม นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และในด้านประโยชน์ที่ได้รับในภาพรวม นักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย คิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์: เรียงความ ย่อความ และสรุปความ ช่วงชั้นที่ 2-4 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: องค์การค้า.

วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2557). การเขียนเพื่อการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย วิวิธภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สกสค. ลาดพร้าว.

ดวงพร หลิมรัตน์. (2558). หนังสือเรียนภาษาไทย ม.1. กรุงเทพมหานคร: แม็ค.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). [ออนไลน์]. ประกาศและรายงานผลสอบโอเน็ต. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565]. จาก http://www.newonetresult.niets.or.th.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑาทิพย์ ไกรนรา, อนันต์ อารีย์พงศ์ และพูนสุข อุดม. (2560). พัฒนาความสามารถในการเขียนย่อความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดการสอนแบบแผนผังความคิด. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 80-90.

สุมนตรี คำขวา. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปาที่มีผลต่อความสามารถในการเขียนย่อความและความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโตนดพูนผลวิทยา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ผกามาศ เยาวเรศ. (2561). การพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023