ผลของการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวที่มีต่อความสามารถในการว่ายน้ำท่ากบ

ผู้แต่ง

  • วสุรัตน์ เพกกิ้ม สาขาวิชาพลศึกษาและกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่

คำสำคัญ:

ความคล่องแคล่วว่องไว, ความสามารถในการว่ายน้ำท่ากบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวที่มีต่อความสามารถในการว่ายน้ำท่ากบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักกีฬาว่ายน้ำของสมาคมว่ายน้ำจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. 2565 อายุระหว่าง 14-15 ปี เพศชาย จำนวน 20 คน ซึ่งได้โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และทำการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการจับคู่ (Matching) ได้แก่ กลุ่มทดลองทำการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไว จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุมฝึกด้วยโปรแกรมฝึกซ้อมปกติ จำนวน 10 คน โดยทำการฝึก 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันพุธและวันศุกร์ มีการทดสอบความสามารถในการว่ายน้ำท่ากบ ก่อนการฝึก หลังการฝึก 4 สัปดาห์ และหลังฝึก 8 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาทำการการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที (t-test Independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-Way Analysis of Variance with Repeated Measures) ทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของแอล เอส ดี (LSD) โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่าความสามารถในการว่ายน้ำท่ากบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมก่อนการฝึกไม่มีความแตกต่างกัน แต่หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ความสามารถในการว่ายน้ำท่ากบของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวทำให้มีความสามารถในการว่ายน้ำท่ากบมากขึ้น

References

ศุกล อริยสัจสี่สกุล. (2556). การนำหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อพัฒนากีฬาว่ายน้ำ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 10(1), 70-80.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2560). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีการสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทางการพลศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หงส์ทอง บัวทอง. (2559). ผลการใช้โปรแกรมฝึกความคล่องแคล่วร่วมกับการการเพิ่มความหนักของงานต่อความคล่องแคล่วและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาวอลเลย์บอลชาย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีระยาสาส์น.

ธนากาญจน์ เสถียรพูนสุข. (2561). การพัฒนาแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวบนพื้นทรายสำหรับนักกีฬาแฮนด์บอลชายหาด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023