การศึกษาสภาพของการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะความเป็นผู้ประกอบการเกษตรสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เขตภาคกลางในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปภาวี จันทนพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วิกร ตัณฑวุฑโฒ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, ความเป็นผู้ประกอบการเกษตร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของการจัดการเรียนรู้ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลาง และ 2) ศึกษาทักษะความเป็นผู้ประกอบการเกษตรของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลาง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 ประเภทวิชาเกษตรกรรม ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลาง จากจำนวนประชากร 850 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปเครซี่และมอร์แกนได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม คือ 265 คน โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลาง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสภาพแวดล้อมในการเรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และน้อยที่สุดคือด้านสื่อการเรียนการสอน 2) ทักษะความเป็นผู้ประกอบการเกษตรของกลุ่มตัวอย่าง โดยอยู่ในระดับปานกลาง ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านทักษะการประสานงาน และน้อยที่สุดคือด้านทักษะด้านสุขภาวะ

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). [ออนไลน์]. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ. [สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565]. จาก http://nscr.nesdc.go.th/master-plans/.

กรมวิชาการเกษตร. (2561). [ออนไลน์]. แผนปฏิบัติราชการของกรมวิชาการเกษตร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). [สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565]. จาก https://www.doa.go.th/th/wp-content/uploads/2020/05/แผนปฏิบัติราชการของกรมวิชาการเกษตร-60-64-ฉบับจริง.pdf.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). [ออนไลน์]. พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. [สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565]. จาก https://www.vec.go.th/Portals/0/ITA64/Doc_P_VEC_2551.pdf.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจนิ์และอัจรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.

ยิ่งศักดิ์ ไกรพินิจ. (2561). โปรแกรมการพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการเกษตรปราดเปรื่องของนักศึกษาอาชีวเกษตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

Jarkko Pyysiäinen. (2016). Developing the Entrepreneurial Skills of Farmers: Some Myths Explored. International Journal of Entrepreneurial Behavior & Research, 12(1), 15-22.

มรกต กำแพงเพชร สวรรยา ธรรมอภิพล และนรินทร์ สังข์รักษา. (2562). คุณลักษณะผู้ประกอบการเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จในธุรกิจเกษตรสีเขียว. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 11(1), 262-275.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023