สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ยุคชีวิตวิถีใหม่ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
คำสำคัญ:
สภาพปัจจุบัน, สภาพที่พึงประสงค์, ความต้องการจำเป็น, แนวทางพัฒนา, นวัตกรรมทางการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของนวัตกรรมทางการศึกษายุคชีวิตวิถีใหม่ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของนวัตกรรมทางการศึกษายุคชีวิตวิถีใหม่ และ 3) พัฒนาแนวทางของนวัตกรรมทางการศึกษายุคชีวิตวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 360 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละและวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของนวัตกรรมทางการศึกษายุคชีวิตวิถีใหม่ (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของนวัตกรรมทางการศึกษายุคชีวิตวิถีใหม่ (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของนวัตกรรมทางการศึกษายุคชีวิตวิถีใหม่ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของนวัตกรรมทางการศึกษายุคชีวิตวิถีใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของนวัตกรรมทางการศึกษายุคชีวิตวิถีใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวม ได้แก่ นวัตกรรมด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ และนวัตกรรมด้านบริหารจัดการ 3) แนวทางพัฒนา (1) นวัตกรรมด้านหลักสูตร สถานศึกษามีการประชุมออนไลน์ ที่ง่ายต่อการติดต่อสื่อสาร ระหว่างสถานศึกษากับครูในการจัดทำหลักสูตร (2) นวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ ครูส่งเสริม ค้นพบความถนัดและความต้องการพัฒนาของผู้เรียน ลดการบรรยาย ลดการเรียนหน้าจอ ให้เรียนรู้ด้วยตนเอง เน้นการปฏิบัติจริง มีการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (3) นวัตกรรมด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ ครูสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนพัฒนานวัตกรรมของตนเอง คิดค้นประดิษฐ์ชิ้นงานได้ (4) นวัตกรรมด้านการประเมินผล ครูประเมินผลหรือจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีการประเมินกรณีมีความจำเป็น (5) นวัตกรรมด้านบริหารจัดการในสถานศึกษา ผลการประเมินแนวทางพัฒนาโดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
References
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล ให้มีความยืดหยุ่น ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2564). การศึกษาที่ผันเปลี่ยนหลังโควิด. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565]. จาก https://www.ksp.or.th/ksp2018/2021/08/32783/.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (2565). คู่มือนวัตกรรม NKP TWO สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2565] จาก drive.google.com/file/d/1NJHvbq5k7iUme5ellGaFu_B6EcmpiY0F/view.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2564). วิจัยการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่ (Design-Based New Normal): ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10.
ถนอมขวัญ ทองโปร่ง กาญจนา สิ่งประสงค์ คณิศร ธีระวิทย์ พัชรินันท์ ยังทรัพย์อนันต์ ภิฑชญา สุนทรกลัมพ์. (2563). สภาพปัญหาการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม). วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 124-139.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ขวัญชนก แสงท่านั่ง. (2563). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7), 153-168.
โกศล ภูศรี. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.