การวิเคราะห์ความสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ชัย จันทะแสง สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์กร, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ, สหสัมพันธ์คาโนนิคอล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมองค์กร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และ 2) ศึกษาสหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างวัฒนธรรมองค์กร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 210 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสำหรับการวิจัยออนไลน์ด้วย Google Form และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล

ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล พบว่า วัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล เท่ากับ 0.712 สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างชุดตัวแปรทั้งสองชุดได้ร้อยละ 50.60 และ 2) ชุดตัวแปรวัฒนธรรมองค์กรมีค่าน้ำหนักคาโนนิคอลระหว่าง |0.502| - |0.609| ประกอบด้วย วัฒนธรรมองค์กรแบบกลมกลืน วัฒนธรรมองค์กรแบบมีส่วนร่วม วัฒนธรรมองค์กรแบบมุ่งเน้นพันธกิจ และวัฒนธรรมองค์กรแบบปรับตัว ตามลำดับ ส่วนชุดตัวแปรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ มีค่าน้ำหนักคาโนนิคอลระหว่าง |0.506| - |0.901| ประกอบด้วย พฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น พฤติกรรมความอดทนอดกลั้น พฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่ และพฤติกรรมการให้ความร่วมมือ ตามลำดับ ดังนั้นองค์กรสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสนับสนุนพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร

References

Organ, D. W. (1990). The Motivational Basis of Organizational Citizen Ship Behavior: In Staw, B. M. & Cummings, L. L. (Eds.). Research in Organizational Behavior. Greenwich, CT: JAI Press.

Organ, D. W., Podsakoff, P. M., & MacKenzie, S. B. (2006). Organizational Citizenship Behavior: Its Nature, Antecedents, and Consequences. Thousand OA: SAGE Publications.

นรุตต์ ทรงฤทธิ์. (2559). วัฒนธรรมองค์การและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 18(2), 41-53.

Lubis, F. R., & Hanum, F. (2020). Organizational Culture. Proceedings of the 2nd Yogyakarta International Conference on Educational Management/Administration and Pedagogy (YICEMAP 2019). Advances in Social Science, Education and Humanities Research, 511, 88-91.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective (7th ed.). New Jersey: Prentice-Hall International.

Denison, D. R., Haaland, S., & Goelzer, P. (2004). Corporate Culture and Organizational Effectiveness: Is Asia Different from the Rest of the World. Organizational Dynamics, 33(1), 98-109.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสําหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(18), 375-396.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่12). กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

สุทธิพร บุญมาก. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Kline, R. B. (2015). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York: Guilford Publications.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2561). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการใช้สหสัมพันธ์และการถดถอยในการวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 11(1), 32-45.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cheanchana, C. (2015). Using Multivariate Statistics for Research: Designing, Analyzing, and Interpreting. Bangkok: King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

กาญจนาพร พันธ์เทศ และประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2562). วัฒนธรรมองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารภาครัฐแห่งหนึ่ง. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(1), 53-65.

วัชรี คงทรัพย์ และพิพัฒน์ นนทนาธรณ์ (2562). อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบริษัทเซ็นทรัลพัฒนาจำกัด (มหาชน) กรณีศึกษา สำนักงานใหญ่. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(3), 104-120.

ชโลบล นับแสน ขนบพร วงศ์กาฬสินธุ์ ธีรพงษ์ บุญรักษา และนันทิยา ดวงภุมเมศ. (2560). การสื่อสารเพื่อจูงใจของผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 10(1), 401-416.

สุวรรณี จริยะพร. (2559). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรวิทยาลัยทองสุข. วารสารสมาคมวิจัย, 21(1), 227-238.

Amelia, D., ‪Marsofiyati, & Febriantina, S. (2022). The Effect of Organizational Culture, Organizational Justice, and Organizational Commitment on Organizational Citizenship Behavior at SMK Yayasan PGRI Jakarta Timur Teachers. Journal Pendidikan Ekonomi, Perkantoran, dan Akuntansi, 3(1), 129-139.‬‬‬‬

Tore, E., & Cetin, E. (2022). The Mediating Role of Organizational Culture in the Effect of School Managers' Authentic Leadership Behaviors on Teachers' Organizational Citizenship Behavior. International Online Journal of Educational Sciences, 14(2), 279-295.

Chang, W. J., Hu, D. C., & Keliw, P. (2021). Organizational Culture, Organizational Citizenship Behavior, Knowledge Sharing and Innovation: A Study of Indigenous People Production Organizations. Journal of Knowledge Management, 25(9), 2274-2292.

Ahmed, M. and Shafiq, S. (2014). The Impact of Organizational Culture on Organizational Performance: A Case Study of Telecom Sector. Global Journal of Management & Business Research, 14(3), 21-30.

นิศาชล รัตนมณี และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2562). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ หัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงานที่มีผลต่อการมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ: กรณีศึกษาบริษัทชทวี จำกัด (มหาชน). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(2), 275-299.

Noori, N., & Sargolzaei, A. (2017). Studding the Relationship between Quality of Work Life and Organizational Citizenship Behavior Among Justice Employees in Zahedan. World Journal of Environmental Biosciences, 6(SI), 21-26.

เจตน์สฤษฎิ์ วินัยธรรม และประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2564). การรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของข้าราชการครู สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(4), 43-52.

วริษฐา กองทรัพย์ ทิพทินนา สมุทรานนท์ และรัตติกรณ์ จงวิศาล. (2561). วัฒนธรรมองค์การ การสนับสนุนจากองค์การ ความยึดมั่นผูกพันในงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการเจนเนอเรชั่นวายของธนาคารแห่งหนึ่ง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(19), 171-187.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023