การศึกษาสมรรถนะผู้เรียนหลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานีตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ
คำสำคัญ:
สมรรถนะผู้เรียน, หลักสูตรระยะสั้น, กรอบคุณวุฒิวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของสถานประกอบการต่อสมรรถนะปัจจุบันและสมรรถนะที่ต้องการของผู้เรียนหลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานีตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนหลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานีตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนหลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานีตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในสถานประกอบการที่ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานีปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานของสถานประกอบการ จำนวน 109 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของสถานประกอบการ และแบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นของสถานประกอบการต่อระดับสมรรถนะปัจจุบันของผู้เรียนหลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานีตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการโดยรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับระดับสมรรถนะที่ต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเมื่อพิจารณาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากการวิเคราะห์การศึกษาสมรรถนะผู้เรียนหลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานีตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการโดยภาพรวมความต้องการจำเป็นมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 0.226 และความต้องการจำเป็นในการบริหารงานบุคคล 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการประยุกต์ใช้ ด้านทักษะ และด้านนวัตกรรม ตามลำดับ สำหรับแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนหลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานีตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ วิทยาลัยควรกำหนดแนวทางการบริหารโดยใช้กระบวนการ PDCA มาประกอบในการบริหารจัดการที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบตั้งแต่การวางแผนพัฒนาหลักสูตร พัฒนาครูผู้สอน ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีประกอบการจัดการศึกษา และควรมีการประเมินสมรรถนะผู้เรียนทุกปีการศึกษาเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
References
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ การจัดการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรื่องที่ 1 การจัดการอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรื่องที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2558). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2558). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยเรื่องการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ฉวีวรรณ แจ้งกิจ และคณะ. (2554). คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการอาหาร. กรุงเทพมหานคร: คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์ และภัทราจิตร แสงสว่าง. (2558). ความต้องการของผู้ประกอบการที่มีต่อหลักสูตรบัญชีบัณฑิต และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ กรณีศึกษา ผู้ประกอบการในเขตจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด นครพนมและศรีสะเกษ. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 วันที่ 26 มิถุนายน 2558 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
อังคณา เรืองชัย. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เรื่อง การทำน้ำสมุนไพรเพื่อเป็นอาชีพเสริมในครอบครัว. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
จิราภรณ์ วัชรปราการ. (2550). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องการประเมินผลตามสภาพจริง สำหรับวิทยากรอาชีพระยะสั้น อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
สมนึก ฟักนุด. (2559). แนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.