แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบควบคุมระดับ 2 ถังที่มีปฏิกิริยาซึ่งกันและกัน

ผู้แต่ง

  • พรรัฐ ทองมี สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช
  • ภัทร พงศ์กิตติคุณ สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช
  • นันท์กมล ศรณรินทร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, การควบคุมระดับ, ตัวแทนระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบควบคุมระดับ 2 ถังที่มีปฏิกิริยาซึ่งกันและกัน 2) เพื่อศึกษาผลตอบสนองต่อสัญญาณขั้นบันไดของการควบคุมระดับ 2 ถังที่มีปฏิกิริยาซึ่งกันและกัน จากการจำลองด้วยโปรแกรม Matlab Simulink และการทดลอง วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีขั้นตอนการวิจัย 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย การออกแบบการทดลอง การค้นหาโครงสร้างของแบบจำลอง การประมาณค่าพารามิเตอร์ของแบบจำลอง การประเมินความถูกต้องของแบบจำลองและการสรุปและตรวจสอบแบบจำลอง การค้นหาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ใช้วิธีการสร้างสมการเชิงอนุพันธ์ การแปลงลาปลาซและพีชคณิตของบล็อกไดอะแกรม ในการหาฟังก์ชันถ่ายโอนของระบบ ส่วนค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของระบบหาได้จากการวิเคราะห์ผลตอบสนองที่ได้จากการทดลอง

ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ได้ เขียนให้อยู่ในรูปของฟังก์ชันถ่ายโอนของระบบอันดับสอง (Second Order System) มีผลตอบสนองต่อสัญญาณขั้นบันไดแบบลูปเปิด (Open Loop Step Response) เป็นชนิดหน่วงเกิน (Over Damped Response) อัตราขยายของกระบวนการเท่ากับหนึ่ง ผลตอบสนองต่อสัญญาณขั้นบันไดแบบลูปเปิด ที่ได้จากการจำลองด้วยโปรแกรม Matlab Simulink  พบว่า เมื่อปรับสัญญาณตัวแปรเข้าเป็นขั้นบันไดที่ 0–30 % ผลตอบสนองในสภาวะคงตัวเท่ากับ 30 % ใช้เวลาเข้าสู่สภาวะคงตัวเท่ากับ 20 นาที และผลที่ได้จากการทดลอง พบว่า ผลตอบสนองในสภาวะคงตัวเท่ากับ 32 % มีความคลาดเคลื่อน -6.67 % เวลาเข้าสู่สภาวะคงตัวเท่ากับ 18 นาที มีความคลาดเคลื่อน 10 % ผลตอบสนองทั้งสองถือว่ามีค่าใกล้เคียงกัน มีแนวโน้มให้ผลตอบสนองในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น จึงสามารถใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ได้จากการวิจัย ใช้เป็นตัวแทนของระบบ เพื่อประโยชน์ในการออกแบบการควบคุมและทำนายผลตอบสนองที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะเดียวกันชุดทดลองที่สร้างขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในรายวิชาระบบควบคุมได้อีกด้วย

References

กอบพร ศรีทิพยราษฎร์. (2561). การพัฒนาชุดการสอนสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน (5E) วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพธุรกิจและบริการ. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 3(1), 18-29.

พจนาฎ สุวรรณมณี อนุชิต รอดตัว และบัญชา แก้วซัง. (2563). การสร้างชุดสาธิตการควบคุมอุณหภูมิด้วยพีไอดีคอนโทรลเลอร์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาการควบคุมกระบวนการอัตโนมัติ. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 5(1), 72-81.

ฉัตรชัย กันยาวุธ. (2548). การสร้างแบบจำลองกระบวนการจากข้อมูลการทดลอง เพื่อใช้สำหรับการออกแบบระบบควบคุมกระบวนการ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ราชมงคลธัญบุรี, 3(6), 51-66.

ไชยันต์ สุวรรณชีวะศิริ. (2557). วิศวกรรมควบคุม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Thomas, E. M. (2000). Process Control: Designing Processes and Control Systems for Dynamic Performance. USA: McGraw-Hill.

Donald, R. & Steven, E. (2009). Process Systems Analysis and Control. USA: The McGraw-Hill.

รตินันท์ เหลือมพล และสมนึก ธีระกุลพิศุทธิ์. (2560). แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของเครื่องอบแห้งระบบสุญญากาศโดยใช้ความร้อนจากเครื่องสูบความร้อน. วารสารวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 24(1), 20-34.

ณัฐดนัย เรือนคำ. (2561). แบบจำลองเครื่องคัดแยกโลหะและอโลหะอัตโนมัติบนสายพานลำเลียง. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 3(2), 43-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2022