การออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์: วิชาวัสดุวิศวกรรม

ผู้แต่ง

  • จินตนา ถ้ำแก้ว สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ภาคภูมิ อัศววงศ์อารยะ สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • พนิดา หอมแพน สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • กนกศักดิ์ ศรีเมฆ สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การพัฒนาชุดสื่อดิจิทัล, วิชาเคมีสำหรับวิศวกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาวัสดุวิศวกรรม 2) ประเมินความพึงพอใจการสัมมนาออนไลน์แนะนำการใช้ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยชุดสื่อดิจิทัลวิชาวัสดุวิศวกรรม และ 3) ประเมินคุณภาพระบบการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยชุดสื่อดิจิทัลวิชาวัสดุวิศวกรรม มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยดังนี้ 1) พัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาวัสดุวิศวกรรมโดยใช้ชุดโมดูลของโปรแกรม Moodle 2) การสัมมนาออนไลน์แนะนำโครงการออกแบบระบบการเรียนการสอนออนไลน์ โดยครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 38 คน ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาออนไลน์แนะนำโครงการออกแบบระบบการเรียนการสอนออนไลน์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ดำเนินการประเมินคุณภาพระบบการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยชุดสื่อดิจิทัล: วิชาวัสดุวิศวกรรม โดยครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 38 คน ผลการวิจัยพบว่าภาพรวมด้านการออกแบบระบบการเรียนการสอนออนไลน์มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก

References

ชวลิต เข่งทอง. (2552). การพัฒนารูปแบบและมาตรฐานสื่อการเรียนการสอน. เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 10,24 และ 26-27 มิถุนายน 2552. ณ สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.

ชนาธิป ปะทะดวง. (2561). การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ ด้วยโปรแกรม Moodle รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

เตชินี ภิรมย์. (2560). การศึกษาและพัฒนาบทเรียนออนไลน์ด้วยโปรแกรม Moodle เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรณีศึกษา: โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม จ.กระบี่. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้นใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 9 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

นุชนาฏ ใจดำรงค์. (2553). การพัฒนารูปแบบ e-Training สำหรับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เอกชัย อภิศักดิ์กุล. (2547). การยอมรับระบบอีเลินนิ่งของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

นภาภรณ์ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ. (2555). การศึกษาการยอมรับการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงของอาจารย์และนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน. สารนิพนธิ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, กรุงเทพมหานคร.

ณัฐกฤตา ศิริโสภณ และสาโรช โศภีรักข์. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บตามแนวคิดการสรางสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, 24(3), 96-120.

วีระ ไทยพานิช. (2551). การเรียนการสอนบนเว็บ (web-based instruction). วารสารวิจัยรามคําแหง, 11(2), 53-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2022