หุ่นยนต์ขนส่ง อาหาร ยา และเวชภัณฑ์ ควบคุมผ่านสมาร์ตโฟน

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ ตั้งนรกุล แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • สุธีร์ ก่อบุญขวัญ แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • สิทธิพงษ์ จีนหมั้น แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • จิรพล บุญยัง แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • มณฑป ไชยบัณฑิต แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง

คำสำคัญ:

หุ่นยนต์, ยา, เวชภัณฑ์, สมาร์ตโฟน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างหุ่นยนต์ขนส่ง อาหาร ยา และเวชภัณฑ์ ควบคุมผ่านสมาร์ตโฟน 2) หาประสิทธิภาพหุ่นยนต์ขนส่ง อาหาร ยา และเวชภัณฑ์ ควบคุมผ่านสมาร์ตโฟน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้หุ่นยนต์ขนส่ง อาหาร ยา และเวชภัณฑ์ ควบคุมผ่านสมาร์ตโฟน รูปแบบการวิจัยเป็น การวิจัยเชิงทดลอง ใช้แนวคิดของการควบคุมระยะไกลผ่านระบบสัญญาณ WiFi เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่ดำเนินการวิจัย คือ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่มาใช้บริการของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 20 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หุ่นยนต์ แบบบันทึกการหาประสิทธิภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าทางสถิติ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

    ผลการวิจัย พบว่า 1) โครงสร้างหุ่นยนต์ มีการทำงาน 3 ระบบ ได้แก่ ระบบการขับเคลื่อนทำงานโดยใช้ 2 ล้อหน้า มีมอเตอร์ดีซีเป็นตัวส่งกำลัง ระบบควบคุมการเคลื่อนที่ควบคุมหุ่นยนต์ด้วยสมาร์ตโฟนผ่านแอปพลิเคชัน Blynk ระบบการสื่อสารกับผู้ใช้จะเป็นการสื่อสารผ่านวีดีโอคอลบนแท็บเล็ต 2) ประสิทธิภาพการทำงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาร์ตโฟนกับกล้อง IP Camera แท็บเล็ต และระบบขับเคลื่อน มีความถูกต้องในระดับสูงที่สุด ที่ระยะทางไม่เกิน 40 เมตร จากอุปกรณ์กระจายสัญญาณ ด้านการควบคุมหุ่นยนต์ผ่านสมาร์ตโฟน พบว่า การทำงานของระบบขับเคลื่อนมีความสัมพันธ์กับการควบคุมทิศทางผ่านแอปพลิเคชัน Blynk บนสมาร์ตโฟนในระดับสูงที่สุด และค่าระยะทางที่หุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้เฉลี่ย 1,106.2 เมตร ต่อการชาร์จแบตเตอรี่ 1 ครั้ง 3) ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมมีระดับความพึงพอใจในระดับมาก

References

ดุรงค์ฤทธิ์ ตรีภาค และพีรยศ ภมรศิลปธรรม. (2559). หุ่นยนต์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 11(2), 61-75.

ประอรพิต กัษฐ์วัฒนา. (2564). [ออนไลน์]. วิวัฒนาการหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ของไทย ไปได้ไกลแค่ไหน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564]. จาก https://www.salika.co/2021/10/15/medical-service-robot-thailand/.

กมลรัตน์ ดีสภา และคณะ. (2561). การพัฒนาเครื่องกวนขนมเปียกปูนสำหรับใช้ในชุมชน. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32 3-6 กรกฎาคม 2561 มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน, นครราชสีมา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2022