การศึกษาค่าความต้านทานจำเพาะของดิน

ผู้แต่ง

  • น้อย โซ่มาลา สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • เอกชัย ศรีสุข สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • จาตุรนต์ เจริญรักษ์ สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • ธรรมสิงห์ เทพเลื่อน สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • สมหวัง ศุภพล สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ค่าความต้านทานดิน, ค่าความจำเพาะดิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหาค่าความต้านทานจำเพาะดินร่วน ดินเหนียว ดินทรายดินดาน และดินปนทราย และ 2) เพื่อศึกษาผลด้วยวิธีการปักกราวด์แบบขนานและแบบเดลต้า สำหรับแนวทางในการออกแบบระบบหลักดิน และเลือกระบบกราวด์ที่เหมาะสม โดยใช้เครื่องวัดความต้านทานดิน รุ่น KYORITSU 4105 A  ในการวัดใช้แท่งหลักดินที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.012 เมตร โดยแต่ละพื้นที่ดิน ใช้แท่งหลักกราวด์ที่มีความยาว 2.40 เมตร วัดความต้านทานดินของระบบกราวด์ของประเภทดินต่าง ๆ  ตัวอย่างพื้นที่ ดินร่วน ดินเหนียว ดินทราย ดินดาน และปนทราย แล้วนําค่าความต้านทานดินของระบบกราวด์ที่วัดได้ ไปคํานวณหาค่าความต้านทานจําเพาะของดิน หลังจากนั้นนําค่าความต้านทานจําเพาะของดินนี้ ไปคํานวณหาค่าความต้านทานของดินเมื่อใช้หลักดินที่ความยาว 2.40 เมตร

ผลการวิจัยพบว่าระบบกราวด์ที่เลือกมี 2 แบบ คือ กราวด์ขนาน และกราวด์เดลต้า ส่วนกราวด์ขนานใช้ข้อมูลในตาราง ตัวคูณลดค่าความต้านทานของหลักดินต่อขนานของสภาวิศวกร จะได้ว่าดินร่วนเลือกแบบกราวด์ขนานใช้หลักดินยาว 2.40 เมตร 2 แท่ง ดินเหนียวเลือกแบบกราวด์ขนานใช้หลักดินยาว 2.40 เมตร 2 แท่ง ดินทรายเลือกแบบกราวด์ขนานใช้หลักดินยาว 2.40 เมตร 2 แท่ง ดินดานเลือกแบบกราวด์ขนานใช้หลักดินยาว 2.40 เมตร 2 แท่ง และดินปนทรายไม่เลือกการปักกราวด์ทั้ง 2 แบบ เพราะค่าความต้านทานทั้ง 2 แบบมีค่ามากกว่าตามที่มาตฐานการไฟฟ้ากำหนด

References

สภาวิศวกร. (2554). [ออนไลน์]. ประมวลหลักปฏิบัติวิชาชีพ ด้านออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบและการต่อลงดิน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคน 2564]. จาก https://shorturl.asia/6bqF0.

ชำนาญ ห่อเกียรติ และเทพกัญญา ขัติแสง. (2552). การต่อลงดิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์.

ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์. (2564). [ออนไลน์]. คู่มือการออกแบบและติดตั้งไฟฟ้า. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคน 2564]. จาก https://shorturl.asia/3gGRH.

ทรงศิริ แต้สมบัติ. (2548). การวิเคราะห์การถดถอย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2022