การสร้างชุดทดลองสายพานลำเลียงควบคุมด้วยอินเวอร์เตอร์ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์
คำสำคัญ:
ชุดทดลองสายพานลำเลียง, ควบคุมด้วยอินเวอร์เตอร์, โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดทดลองสายพานลำเลียงควบคุมด้วยอินเวอร์เตอร์ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ 2) หาประสิทธิภาพชุดทดลองสายพานลำเลียงควบคุมด้วยอินเวอร์เตอร์ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้ชุดทดลองสายพานลำเลียงควบคุมด้วยอินเวอร์เตอร์ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์โดยมีวิธีดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่าง คือ พนังงานของบริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ที่เข้าร่วมอบรม จำนวน 15 คน โดย สุ่ม/เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดทดลอง แบบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชุดทดลองสายพานลำเลียงควบคุมด้วยอินเวอร์เตอร์ร่วมกับโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ในระดับมาก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.54/81.06 และผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกอยู่ในระดับพึงพอใจระดับมาก
References
ธีรศิลป์ ทุมวิภาต. (2558). เรียนรู้ PLC ขั้นต้นด้วยตัวเอง. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พรจิต ประทุมสุวรรณ. (2541). เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม: เซนเซอร์และทรานสดิวเซอร์. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์
ฐิฑารีย์ ถมยา. (2553). นิวเมติกส์และนิวเมติกส์ไฟฟ้าเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ปราการ ผาติสุนทร. (2551). รายงานการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดทดลอง วิชางานนิวเมติกส์และไฮดรอลิกส์เบื้องต้น, ขอนแก่น.
วิษณุ บัวเทศ และวสันต์ เพชรพิมูล. (2556). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอน วิชาการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า. วิทยานิพนธ์หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.
พงศักดิ์ อำนวยผล. (2558). การสร้างและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน วิชาซิลสกรีนและวงจรพิมพ์ รหัสวิชา 2104-2223. ภูเก็ต: วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.