การพัฒนาชุดเตาเผาสำหรับขยะติดเชื้อโควิด-19 ควบคุมด้วยระบบอัจฉริยะ (IoT)
คำสำคัญ:
ขยะติดเชื้อโควิด-19, ระบบควบคุมอัจฉริยะ, สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดเตาเผาสำหรับขยะติดเชื้อโควิด-19 ควบคุมด้วยระบบอัจฉริยะ (IoT) 2) ทดสอบประสิทธิภาพของชุดเตาเผาสำหรับขยะติดเชื้อโควิด-19 ควบคุมด้วยระบบอัจฉริยะ (IoT) และ 3) ศึกษาผลการใช้งานระบบควบคุมอัจฉริยะ (IoT) ต้นแบบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลมูลฝอยที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตเทศบาลนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) จากผลการสร้างชุดเตาเผาสำหรับขยะติดเชื้อโควิด-19 ควบคุมด้วยระบบอัจฉริยะ (IoT) มีคุณภาพการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์สำหรับสร้างนวัตกรรมมากที่สุด 2) ประสิทธิภาพของชุดเตาเผาสำหรับขยะติดเชื้อโควิด-19 ควบคุมด้วยระบบอัจฉริยะ (IoT) มีประสิทธิภาพการเผาไหม้สูงสุด 99.90 % และอัตราการเผาขยะ สูงสุดที่ 182 กิโลกรัมต่อชั่วโมง มีระบบควบคุมอัจฉริยะ (IoT) ควบคุมการทำงานเปิดวาล์วแก๊สได้ และ 3) ผลประเมินร้อยละการใช้งานระบบควบคุมอัจฉริยะ (IoT) ต้นแบบสามารถควบคุมการเปิดวาล์วแก๊สได้จริง
References
กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ และวิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ. (2563). ฮาวทูทิ้ง: ทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างไร ให้ปลอดภัยกับสังคมและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: กรมอนามัย.
ผู้จัดการออนไลน์. (2563). [ออนไลน์]. หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง อย่าทิ้งมั่ว อาจเป็นขยะติดเชื้อ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563]. จาก https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9630000035228.
พิชา รักรอด. (2563). [ออนไลน์]. วิกฤตโควิด-19 กำลังซ้ำเติมวิกฤตขยะพลาสติกหรือไม่. [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563]. จาก https://www.greenpeace.org/thailand/story/16270/plastic-single-use-1plastic-crisis-in-covid-9-sitution.
วิเชียร จุ่งรุ่งเรือง สุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ สุวิทย์ ขัตติวงศ์ และวชิรา แสงศรี. (2557). กรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยนครศรีธรรมราช. วารสารหมายเหตุมลพิษ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 11(24), 2-4.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช (พ.ศ. 2561-2565) ฉบับทบทวน. นครศรีธรรมราช: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนครศรีธรรมราช.
กอบเกียรติ สระอุบล. (2561). พัฒนา IoT บนแพลตฟอร์ม Arduino และ Raspberry Pi. กรุงเทพมหานคร: อินเตอร์มีเดีย
นิตยา นักระนาด มิลน์. (2555). เตาเผาขยะชีวมวลไร้ควัน. วารสาร GREEN RESEARCH, 9(21), 6-7.
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2558). โครงการติดตามประเมินผลการใช้เตาเผาขยะชีวมวลไร้ควัน. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ธนพร เทพสมุทร และคณะ. (2564). การออกแบบและสร้างเผาผลิตถ่านจากชีวมวลและขยะมูลฝอยระดับชุมชน. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, 27(1), 25-31.
สมพร เหล่าดี และพลอยไพลิน โคตรตาแสง. (2563). เตาเผาขยะไร้ควันไร้กลิ่น. โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม ประจำปี 2563 ในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล). กาฬสินธุ์: โรงเรียนโคกเครือวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.
โสภณวิชญ์ เขียวคำจีน และชัยพร เขมะภาตพันธุ์. (2562). การเปรียบเทียบการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ IoT สำหรับโทรศัพท์มือถือระหว่าง IoT Cloud Platform Application และ End-to-End Application กรณีศึกษาเครื่องให้อาหารปลา. วารสารบัณฑิตศึกษา, 7(3), 946-960.
วริศร์ รัตนนิมิตร วุฒิชัย เกษพานิช และสุทธิลักษณ์ ชุนประวัติ. (2562). การติดตั้งเซิร์ฟเวอร์สําหรับตรวจสอบข้อมูลสมาร์ทฟาร์มผานแอพพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม, 6(1), 37-42.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2561). วิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณัฐกร สงคราม. (2557). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
English, Lyn D. & King, Donna. (2017). Engineering education with fourth-grade students: Introducing Design-based problem-solving. International Journal of Engineering Education, 33(1), 346-360.
ชโลทร แก่นสันติสุขมงคล. (2563). นวัตกรรม เทคโนโลยี กับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว. กรุงเทพมหานคร: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.